| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     การคว่ำบาตรของพระสงฆ์มีอยู่ในพระวินัยปิฎกด้วยนะคะมีที่มาจากศัพท์ในจุลวรรคพระวินัยปิฎกที่กล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สามารถมีมติลงโทษคว่ำบาตรอุบาสกอุบาสิกาได้เพื่อให้มีสติสำนึกผิดในความผิดที่กระทำต่อพระพุทธศาสนาการคว่ำบาตรในทางพระวินัยจึงถือเป็นการตักเตือนด้วยความปรารถนาดีโดยพระสงฆ์สามารถทำการคว่ำบาตรได้เฉพาะกับชาวพุทธเท่านั้นตามข้อกำหนดในพระวินัยปิฎกและตามสภาพที่เป็นจริงในทางปฏิบัติค่ะ การคว่ำบาตร_(ศาสนาพุทธ) การคว่ำบาตร การคว่ำบาตร การคว่ำบาตร

     การประเคนหมายถึงการถวายของการส่งของให้พระถึงมือค่ะของที่ประเคนนั้นต้องไม่ใหญ่หรือหนักจนคนเดียวยกไม่ได้ถ้าเป็นของเคี้ยวของฉันจะต้องประเคนในกาลคือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวันเท่านั้นหลังจากนั้นเป็นวิกาลไม่ควรประเคน ส่วนวิธีประเคนคือนั่งหรือยืนห่างจากพระประมาณ๑ศอกจับของที่จะประเคนด้วยมือทั้งสองหรือมือเดียวก็ได้ยกให้สูงพ้นพื้นเล็กน้อยแล้วน้อมประเคนด้วยความเคารพถ้าเป็นบุรุษพระจะรับด้วยมือทั้งสองถ้าเป็นสตรีพระจะทอดผ้าสำหรับประเคนออกมารับพึงวางของบนผ้านั้นแล้วปล่อยมือเมื่อประเคนเสร็จแล้วพึงกราบหรือไหว้แล้วแต่กรณีค่ะ การประเคนเป็นการยกให้ด้วยความเต็มใจเป็นการปกป้องมิให้พระถูกกล่าวหาว่าเป็นขโมย พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ การประเคน การประเคน การประเคน การประเคน

     การแสวงบุญหรือการจาริกไปเพื่อทำการบูชาสังเวชนียสถานเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยในสมัยนั้นชาวพุทธจะจาริกแสวงบุญโดยเดินทางมาเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ในภายหลังมีผู้ทูลถามพระพุทธเจ้าว่าเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วผู้มีศรัทธาควรไปยังณสถานที่ใดเพื่อยังให้เกิดความเจริญใจด้วยศรัทธาเสมือนเข้าเฝ้าพระพุทธองค์พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่าสถานที่ควรไปเพื่อยังให้เกิดความแช่มชื่นเบิกบานใจเจริญใจและสังเวชใจเมื่อได้ไปคือสังเวชนียสถานทั้ง๔ตำบลดังพระพุทธพจน์ดังต่อไปนี้ "ดูกรภิกษุทั้งหลายสถานที่ควรเห็นควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา๔แห่งนี้๔แห่งเป็นไฉนคือสถานที่ควรเห็นควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธาว่าพระตถาคตประสูติณที่นี้๑พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณณที่นี้๑พระตถาคตทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยมณที่นี้๑พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุณที่นี้๑ดูกรภิกษุทั้งหลายสถานที่ควรเห็นควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา๔แห่งนี้แลฯ" จากพระสุตตันตปิฎกเล่ม๑๓อังคุตตรนิกายจตุกกนิบาตตติยปัณณาสก์๒เกสีวรรคสังเวชนียสูตร โดยพระพุทธองค์ได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการจาริกแสวงบุญไปยังสังเวชนียสถานด้วยความศรัทธาว่า "ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์สังเวชนียสถานมีจิตเลื่อมใสแล้วจักทำกาละลงชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ฯ" จากพระไตรปิฎกเล่มที่๑๐พระสุตตันตปิฎกเล่ม๒ทีฆนิกายมหาวรรคมหาปรินิพพานสูตร หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาทั้งหลายก็ได้นิยมเดินทางมานมัสการสถานที่สำคัญเหล่านี้ดังปรากฏหลักฐานของสมณทูตจากประเทศจีนเช่นหลวงจีนฟาเหียนพระถังซำจั๋งเป็นต้นที่ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเพื่อสักการะสังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญในพุทธประวัติอื่นๆซึ่งรวมถึงเรื่องราวการเดินของชาวไทยที่จาริกไปพุทธคยาด้วยดังเช่นพงศาวดารเหนือไว้ว่าผู้จาริกได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระมหาโพธิเจดีย์มาสร้างเป็นเจดีย์วัดเจดีย์เจ็ดยอดในตัวเมืองเชียงใหม่แต่หลังจากพระพุทธศาสนาได้เสื่อมไปจากอินเดียสังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญอื่นๆก็ได้ถูกทิ้งร้างไปซึ่งในระยะนั้นก็มีชาวพุทธเข้ามาบูรณะบ้างเป็นครั้งคราวแต่สุดท้ายก็ได้ถูกปล่อยทิ้งร้างอย่างสิ้นเชิงในช่วงพุทธศตวรรษที่๑๘จนอนุทวีปอินเดียยกเว้นศรีลังกาถูกอังกฤษเข้ามาปกครองเป็นอาณานิคมจึงได้เริ่มมีการเข้าไปบูรณะขุดค้นทางโบราณคดียังสถานที่สำคัญต่างๆซึ่งถูกทิ้งร้างเป็นเนินดินจำนวนมากและมีการบูรณะเรื่อยมาโดยศรัทธาทุนทรัพย์ของชาวพุทธบ้างรัฐบาลอินเดียบ้างจนในช่วงหลังพุทธศักราช๒๕๐๐จึงได้เริ่มมีชาวพุทธทุกนิกายจากทั่วโลกนิยมมานมัสการสังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนาในดินแดนพุทธภูมิมากขึ้นจนปัจจุบัน การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ การแสวงบุญ การแสวงบุญ

     การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิคือการเดินทางของพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาเพื่อไปสักการะสถานที่สำคัญในพระพุทธประวัติหรือสถูปเจดีย์ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนาในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลหรือที่คือดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบันโดยสถานที่สำคัญที่ถือได้ว่าเป็นจุดหมายหลักของชาวพุทธคือสังเวชนียสถาน๔ตำบลคือลุมพินีวันสถานที่ประสูติพุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ฯสารนาถสถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนาและกุสินาราสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งนอกจากสังเวชนียสถานแล้วยังมีสถานที่สำคัญอื่นๆอีกมากซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและประวัติศาสตร์พุทธศาสนาทั้งที่เป็นมหาสังฆารามในอดีตหรือเมืองสำคัญในสมัยพุทธกาลที่มีความเกี่ยวข้องปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาซึ่งบางแห่งได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกเช่นที่พุทธคยาถ้ำอชันตาเอลโลล่าเป็นต้น เดิมนั้นการเดินทางไปสักการะยังสถานที่ต่างๆในดินแดนพุทธภูมิเป็นไปด้วยความยากลำบากต้องมีความศรัทธาตั้งมั่นอย่างมากจึงจะสามารถไปนมัสการได้ครบทุกแห่งในปัจจุบันการเดินทางสะดวกสะบายขึ้นและมีวัดพุทธนานาชาติอยู่ในจุดสำคัญๆของพุทธสถานโบราณต่างๆทำให้ชาวพุทธจากทั่วโลกนิยมไปนมัสการพุทธสถานในดินแดนพุทธภูมิเป็นจำนวนมากในแต่ละปี การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ การแสวงบุญของชาวพุทธในดินแดนพุทธภูมิ การแสวงบุญ การแสวงบุญ

     กาลกิริยาอ่านว่ากาละกิริยาหรือกานกิริยาแปลว่าการกระทำกาละ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กาลกิริยา กาลกิริยา กาลกิริยา กาลกิริยา

     กาลกิริยาเป็นสำนวนวัดหมายถึงตายมรณะล่วงลับไปใช้กับบุคคลทั่วไปไม่จำกัดเพศเช่นใช้ว่า "ผู้สั่งสมบุญความดีไว้มากครั้นทำกาลกิริยาไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติสามีของนางครั้นสั่งเสียเสร็จแล้วก็ทำกาลกิริยาล่วงลับไปสู่ปรโลก"อะไรอย่างนี้แหละค่ะ แล้วยังมีความหมายตามรูปศัพท์อีกอย่างหนึ่งว่าถึงเวลาที่กำหนดไว้ถึงจุดของเวลาถึงเวลาสุดท้ายถึงชั่วโมงสุดท้ายของชีวิตซึ่งก็ได้ความหมายว่าตายเหมือนกันค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กาลกิริยา กาลกิริยา กาลกิริยา กาลกิริยา

     กาลทานอ่านว่ากาละทานแปลว่าทานที่ถวายตามกาลทานที่ทรงอนุญาตให้รับได้ตามกาลค่ะคำว่ากาลทานหมายถึงทานหรือสิ่งของที่มีกำหนดระยะเวลาถวายภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุรับทานเช่นนั้นได้หากถวายก่อนหรือหลังระยะกาลนั้นไม่ถือว่าเป็นกาลทานที่กำหนดไว้ว่าเป็นกาลทานคือ ผ้าอาบน้ำฝนทรงกำหนดให้พระสงฆ์รับได้ตั้งแต่วันแรม๑ค่ำเดือน๗ถึงวันเพ็ญเดือน๘รวม๑เดือนผ้ากฐินทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับได้ตั้งแต่วนแรม๑ค่ำเดือน๑๑จนถึงวันเพ็ญเดือน๑๒รวม๑เดือนค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กาลทาน กาลทาน กาลทาน กาลทาน

     กาลัญญุตาเป็นผู้รู้จักกาลคือรู้กาลเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจกระทำหน้าที่การงานเช่นให้ตรงเวลาให้เป็นเวลาให้ทันเวลาให้พอเวลาให้เหมาะเวลาเป็นต้น "ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้จักกาลว่านี้เป็นกาลเรียนนี้เป็นกาลสอบถามนี้เป็นกาลประกอบความเพียรนี้เป็นกาลหลีกออกเร้น" ธัมมัญญูสูตรพระไตรปิฎกเล่มที่๒๓ สัปปุริสธรรม กาลัญญู กาลัญญู กาลัญญู เป็นผู้รู้จักกาล

     กาลามสูตรคือพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะหมู่บ้านเกสปุตติยนิคมแคว้นโกศลค่ะเรียกอีกอย่างว่าเกสปุตติยสูตรหรือเกสปุตตสูตรก็มีนะคะกาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชนไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆอย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อมีอยู่๑๐ประการค่ะ ๑มาอนุสฺสวเนนอย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา ๒มาปรมฺปรายอย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆกันมา ๓มาอิติกิรายอย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ ๔มาปิฏกสมฺปทาเนนอย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา ๕มาตกฺกเหตุอย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง ๖มานยเหตุอย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา ๗มาอาการปริวิตกฺเกนอย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ ๘มาทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยาอย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน ๙มาภพฺพรูปตาอย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้ ๑๐มาสมโณโนครูติอย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา เมื่อใดตรวจสอบจนรู้ได้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นก็ละซะค่ะและเมื่อใดตรวจสอบจนรู้ได้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษเมื่อนั้นก็ปฏิบัติโลดค่ะปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงายในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ๒๕๐๐ปีก่อนได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่าการคิดเชิงวิจารณ์ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้วด้วยนะคะ กาลามสูตร กาลามสูตร กาลามสูตร กาลามสูตร อย่าเพิ่งเชื่อโดย

     กาลิกอ่านว่ากาลิกแปลว่าประกอบด้วยกาลเวลาขึ้นอยู่กับกาลเวลาเป็นภาษาพระวินัยหมายถึงอาหารหรือของที่ภิกษุรับแล้วเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้นหากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิดได้แก่ ๑ยาวกาลิกของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวคือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวันได้แก่ข้าวสุกขนมปลาเนื้อเป็นต้น๒ยามกาลิกของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วระยะเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่งได้แก่น้ำปานะหรือน้ำผลไม้ชนิดต่างๆที่ทรงอนุญาตไว้๓สัตตาหกาลิกของที่เก็บไว้ฉันได้ภายใน๗วันได้แก่เภสัช๕คือเนยใสเนยข้นน้ำมันน้ำผึ้งน้ำอ้อย ทั้งนี้ของที่นอกเหนือจากกาลิกทั้ง๓นั้นคือยาวชิวิกเป็นของที่เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิตค่ะ กาลิก กาลิก กาลิก กาลิก

     กาสาวพัสตร์อ่านว่ากาสาวะพัดแปลว่าผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาดเป็นคำเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้นุ่งห่มค่ะผ้านุ่งห่มของพระสงฆ์ไม่ว่าจะเป็นสีเหลืองสีแก่นขนุนหรือสีกรักก็เรียกว่าเป็นผ้ากาสวพัสตร์ทั้งสิ้นถือว่าเป็นของสูงเป็นของพระอริยะเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าที่ทรงประทานอนุญาตให้พระสาวกใช้ได้จัดเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง คำว่ากาสาวพัสตร์ในความหมายรวมๆก็คือผ้าเหลืองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาเช่นแม่พูดกับลูกว่า"ลูกเอ๋ยบวชให้แม่ได้เห็นชายผ้าเหลืองสักพรรษานะลูก"คำว่าผ้าเหลืองในที่นี้ก็คือผ้ากาสาวพัสตร์นั่นเองค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กาสาวพัสตร์ ชุดนักรบปราบกิเลส กาสาวพัสตร์ ผ้ากาสาวพัสตร์

     กุฏิหรือกุฎีอ่านว่ากุดหรือกุดติแปลว่ากระต๊อบกระท่อมโรงนาใช้ว่ากุฏีก็ได้หมายถึงอาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของภิกษุสามเณรใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา กุฏิสมัยก่อนจะแยกกันเป็นหลังๆอยู่รวมกันหลายๆหลังเช่นกุฏิเรือนไทยเรียกว่ากุฏิหมู่หรือหมู่กุฏิบางแห่งสร้างเป็นหลายชั้นและหลายห้องเรียกว่ากุฏิแถวแต่สำหรับกุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่าพระคันธกุฎีเพราะมีกลิ่นหอมอยู่ตลอดเวลาค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กุฏิ กุฏ กุฏ กุฏิ

     กุลทูสกอ่านว่ากุละทูสกหรือกุละทูสะกะแปลว่าผู้ประทุษร้ายตระกูลเป็นภาษาพระวินัยหมายถึงภิกษุผู้ประจบเอาใจคฤหัสถ์ที่ไม่ว่าจะเป็นคนธรรมดาหรือผู้มียศศักดิ์ด้วยอาการที่ผิดพระวินัยเพื่อให้เขาศรัทธาในตัวเพื่อหวังลาภผลจากเขาเช่นให้ของกำนัลทำสวนดอกไม้ไว้ให้เขาชื่นชมพูดประจ๋อประแจ๋อุ้มลูกเขายอมตัวให้เขาใช้สอยรับเป็นหมอรักษาไข้รับฝากของต้องห้ามเป็นต้น กุลทูสกเป็นผู้ทำลายศรัทธาทำให้เขาดูหมิ่นเสื่อมถอยในพระรัตนตรัยและทำให้เขาพลาดจากบุญกุศลเพราะมัวหลงชื่นชมต่อสิ่งที่ได้รับไม่หาโอกาสบำเพ็ญบุญอย่างอื่นจึงเรียกผุ้ประทุษร้ายตระกูลหรือผู้ทำร้ายตระกูล พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กุลทูสก กุลทูสก กุลทูสก กุลทูสก

     กุลบุตรหรือกุลธิดาเป็นศัพท์ที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาแปลว่าบุตรแห่งสกุลหรือคนในตระกูลในพระไตรปิฎกใช้ศัพท์กุลบุตรมากโดยเฉพาะในพระวินัยปิฎกมหาวรรคทายัชชภาณวารที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตวิธีการบรรพชาอุปสมบทแก่บุคคลโดยใช้คำว่ากุลบุตรแทนผู้ที่จะบวชในทางปฏิบัติประเทศไทยเราจะนิยมใช้คำว่านาคแทนผู้ที่จะบวชทำให้ในตำราพระพุทธศาสนานิยมเรียกผู้จะบวชเป็นพระภิกษุสามเณรว่ากุลบุตรโดยอนุโลมให้เรียกกับสตรีที่จะบวชชีสมาทานศีล๘ว่ากุลธิดา กุลบุตร กุลบุตรกุลธิดา กุลบุตร กุลบุตรกุลธิดา

     กุลุปกะอ่านว่ากุลุปะกะแปลว่าผู้เข้าถึงสกุล กุลุปกะเป็นคำเรียกภิกษุผู้ใกล้ชิดสนิทสนมกับครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลมีความคุ้นเคยและไปมาหาสู่ผู้คนในครอบครัววงศ์ตระกูลนั้นๆเสมอผู้คนในครอบครัววงศ์ตระกูลนั้นรู้จักให้ความเคารพนับถือและอุปถัมภ์บำรุงด้วยดีโดยไม่รังเกียจเรียกเต็มว่าพระกุลุปกะโบราณเรียกว่าชีต้น พระกุลุปกะนั้นทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาวงศ์ตระกูลบ้างเป็นหลักใจของวงศ์ตระกูลบ้างเป็นผู้สอนธรรมประจำของวงศ์ตระกูลบ้างแต่ถ้าเป็นพระที่ใกล้ชิดกับราชสกุลเรียกว่าพระราชกุลุปกะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กุลุปกะ กุลุปกะ กุลุปกะ กุลุปกะ

     กเลวระหรือกเฬวรากปกติใช้ในความหมายว่าซากศพซึ่งนิยมพูดหรือเขียนต่อกับคำว่ากเฬวรากเป็นกเฬวรากซากศพด้วยมีเสียคล้องจองรับกันพอดีบางครั้งถูกนำไปใช้เป็นคำด่าก็มีในกรณีที่เปรียบเทียบผู้ถูกด่าเป็นเหมือนซากศพไม่มีประโยชน์ทำแต่งเรื่องเน่าเหม็นหรือนำความเน่าเหม็นมาให้ค่ะเช่นใช้ว่า"พวกกเฬวรากพวกนี้เมื่อไรจะไปผุดไปเกิดเสียที" พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ กเฬวราก ความหมายของกเฬวราก กเฬวราก กเฬวราก เน่าเหม็น

     ก็เกิดมาแล้วนี่เกิดมาแล้ว

     ก็คงจิตปลอดโปร่งๆไม่มีคิดดีคิดร้ายอะไรกับใครมีสติอยู่กับตัวเบาๆสบายๆไรงี้มั้งคะ จิต จิต จิต ปลอดโปร่ง

     ก็น่าจะพักอยู่ที่วัดแหละค่ะ จำวัด จำวัด จำวัด พักอยู่วัด

     การบวชสามเณรหน้าไฟคือการบรรพชาสามเณรหรือบวชเณรที่นิยมบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายโดยปรกติการบวชหน้าไฟมักจะบวชกันในวันเผาศพโดยเมื่อทำพิธีฌาปนกิจเสร็จก็มักจะสึกเรียกตามภาษาชาวบ้านคือบวชเช้าสึกเย็นที่เรียกว่าหน้าไฟจึงน่าจะมีสาเหตุมาจากบวชเพียงเพื่อเป็นเณรอยู่หน้าไฟเท่านั้นการบวชสามเณรหน้าไฟเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีนิยมโดยผู้บวชและญาติพี่น้องเชื่อว่าการบวชเณรหน้าไฟจะทำให้ผู้วายชมน์ได้บุญมากดังนั้นเราจึงมักเห็นการบวชลักษณะนี้ได้ทั่วไปในงานพิธีศพอีกประการหนึ่งการบวชเณรกระทำง่ายเพียงแค่โกนศีรษะและเตรียมจีวรเข้าไปหาอุปัชฌาย์ก็สามารถทำการบวชได้แล้วดังนั้นการบวชเณรจึงไม่ยุ่งยากเหมือนการบวชพระภิกษุซึ่งมีขั้นตอนในการรับรองในทางพระวินัยมากมายคนทั่วไปจึงนิยมบวชเณรหน้าไฟมากกว่าบวชพระหน้าไฟเทวประภาสมากคล้ายเปรียญเอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภาอุตรดิตถ์วัดคุ้งตะเภา,๒๕๔๙เณรหน้าไฟบวชหน้าไฟบวชหน้าไฟบวชหน้าไฟบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย

     กามตัณหาคือความอยากหรือไม่อยากในสัมผัสทั้ง๕คือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะกามตัณหากามตัณหากามตัณหาความอยากหรือไม่อยาก

     การแก้นิสัยไม่ดีแต่ละอย่างไม่ใช่ทำได้ง่ายๆต้องพยายามแก้ส่วนจะแก้ได้มากหรือได้น้อยแค่ไหนก็ต้องพยายามแก้กันเรื่อยไปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งบำเพ็ญบารมีในพระชาติต้นๆความรู้ความประพฤติของพระองค์ก็ไม่สมบูรณ์เช่นคนทั้งหลายจึงต้องล้มลุกคลุกคลานไปบ้างบางชาติเกิดเป็นสัตว์บางชาติเกิดเป็นคนเป็นคนยากจนก็มีเป็นกษัตริย์ก็มีบางชาติเป็นนักปราชญ์แต่จะล้มลุกคลุกคลานอย่างไรพระองค์ก็พยายามฝึกตัวอยู่ตลอดเวลาสังเกตได้จากชาดกเรื่องต่างๆเราประกาศตัวเป็นชาวพุทธเท่ากับประกาศว่าเป็นลูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีหน้าที่ต้องฝึกตนตามพระองค์รู้ว่านิสัยอะไรไม่ดีก็รีบแก้เสียฝืนใจให้ได้ฝืนใจอยู่บ่อยๆทำซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ช้าก็คุ้นกับความดีศีลธรรมต้องนำหน้าความรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงานหลายแห่งคือคนส่วนใหญ่มักไม่ฝึกฝนปรับปรุงตัวเองโดยเฉพาะความประพฤติบางคนปรับปรุงเฉพาะความรู้ซึ่งความรู้ทางโลกเป็นความรู้ที่สามารถเรียนรู้ทันกันได้โดยใช้เวลาไม่นานและถ้าหากมีความรู้แล้วแต่ไม่รู้จักการฝึกฝนตนเองก็ยากที่จะเจริญก้าวหน้าได้ทางที่ถูกที่ควรคือเมื่อด้านวิชาการก้าวหน้าอยู่ตลอดตัวเราก็ต้องพยายามค้นคว้าเพิ่มเติมมากหรือน้อยก็ให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆพร้อมกันนั้นก็รีบปรับปรุงคุณธรรมในตัวเราเสียแต่เนิ่นๆพอถึงเวลาแล้วเราต้องอาศัยคุณธรรมเป็นแนวทางในเรื่องการถนอมน้ำใจคนเรื่องการเข้าสังคมเรื่องการติดต่อกับผู้ใหญ่และอีกหลายสิ่งหลายอย่างแต่ถ้าขาดคุณธรรมย่อมเกิดปัญหาตามมามากมายเช่นการเล่นพรรคเล่นพวกปัดแข้งปัดขาก่อเวรต่างคนต่างมีจิตใจขุ่นมัวแล้วในที่สุดก็ไม่สามารถสร้างตัวได้ดังนั้นควรตั้งใจฝึกคุณธรรมดีที่สุดคุณธรรมที่ต้องฝึกก็คือความไม่ลำเอียงถ้าลำเอียงแล้ววินิจฉัยจะเสียตามบางคนลำเอียงแม้เรื่องเล็กๆเช่นสุนัขบ้านเราไปกัดแพ้สุนัขข้างบ้านแค่นั้นและชักเคืองแทนสุนัขขึ้นมาทีเดียวคือเอาหัวใจไปผูกกับสุนัขบางคนเรื่องเล็กไม่ลำเอียงแต่ลำเอียงเรื่องใหญ่พอลูกตัวเองไปเล่นกับลูกชาวบ้านเกิดทุบตีกันขึ้นไม่เลยว่าลูกตัวไปรังแกเขาก่อนหรือไปทำอะไรมาเข้าข้างลูกตัวเองทันทีจะไปเล่นงานลูกชาวบ้านอย่างนี้ก็มีเรื่องความลำเอียงนี้บางทีแก้กันชั่วชีวิตกว่าจะหายเพราะฉะนั้นต้องฝึกเป็นคนไม่ลำเอียงให้ได้การฝึกเช่นนี้เน้นการนั่งสมาธิมากๆให้ใจละเอียดอ่อนแล้วจะไม่ลำเอียงไม่มีอคติกับใครแล้วเราจะไม่มีปัญหากับใครและจะเจริญก้าวหน้าได้ในที่สุดทมะ การฝึกเพื่อแก้นิสัย นิสัย นิสัย ความลำเอียง

     การกราบแบบนี้ผู้ชายให้นั่งคุกเข่าเรียกว่านั่งท่าพรหมหรือท่าเทพบุตรผู้หญิงให้นั่งคุกเข่าราบคือนั่งทับฝ่าเท้าทั้งสองเรียกว่านั่งท่าเทพธิดาประนมมือไหว้ที่หน้าอกแล้วยกมือขึ้นไหว้โดยให้หัวแม่มืออยู่ระดับหว่างคิ้วปลายนิ้วชี้อยู่ระดับตีนผมแล้วหมอบลงทอดฝ่ามือไว้บนพื้นให้ฝ่ามือทั้งสองห่างกันเล็กน้อยวางหน้าผากลงจดพื้นระหว่างฝ่ามือเมื่อหน้าผากถึงพื้นแล้วเงยหน้าตั้งตัวตรงแล้วเริ่มกราบใหม่ครั้งที่สองครั้งที่สามก็เหมือนกันการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์



๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ