| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     คำสอนในระดับโลกียะเริ่มด้วยทานศีลและภาวนาเพื่อให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่กระแสแห่งธรรมเป็นลำดับจากต่ำไปหาสูงค่ะ คำสอนในระดับโลกียะนี้พระพุทธองค์มุ่งสอนให้ชาวโลกอยู่ดีกินดีและมีความสุขตามอัตภาพเริ่มด้วยการแสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรมรักษาทรัพย์ที่หามาได้ไม่ให้สูญหายไปและใช้ทรัพย์ที่หามาได้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมรอบข้างเริ่มจากคนในครอบครัวไปจนถึงบุคคลที่ควรจะได้รับการสงเคราะห์จะเห็นได้จากคำสอนที่ว่าด้วยธรรมะของผู้ครองเรือนเช่นผู้ครองเรือนควรจะขยันหาทรัพย์จงดูตัวอย่างตัวผึ้งที่บินหาน้ำหวานจากเกสรดอกไม้แม้ทีละน้อยสะสมเป็นน้ำผึ้งเต็มรวงผึ้งได้และสอนให้ใช้จ่ายอย่างประหยัดโดยดูตัวอย่างจากการใช้ยาหยอดตาแม้ทีละหยดก็หมดขวดได้ทั้งยังสอนวิธีการใช้ทรัพย์ที่หามาได้ด้วยค่ะ โลกียะ โลกียะ โลกียะ ใช้เงินเก็บเงิน

     ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา๑ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นาดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้าหรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์๒หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา๘ถึง๙เดือนช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน๓เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเองและศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา๔เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวชอันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป๕เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษเช่นการทำบุญตักบาตรหล่อเทียนพรรษาถวายผ้าอาบน้ำฝนรักษาศีลเจริญภาวนาถวายจตุปัจจัยไทยธรรมงดเว้นอบายมุขและมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ประเพณีเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา มีโอกาสทำบุญพิเศษ

     ความเป็นไวยาวัจกรสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าอาวาสผู้แต่งตั้งให้ออกหรือเจ้าอาวาสผู้แต่งตั้งพ้นจากความเป็นเจ้าอาวาสเช่นลาออกลาสิกขามรณภาพค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ไวยาวัจกร ไวยาวัจกร

     คัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสะและคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะของพระอนุรุทธาจารย์กล่าวว่าวิญญาณมีหน้าที่๑๔อย่างคือ๑ปฏิสนธิสืบต่อภพใหม่๒ภวังค่ะเป็นองค์ประกอบของภพ๓อาวัชชนะคำนึงถึงอารมณ์ใหม่๔ทัสสนะเห็นรูปตรงกับจักขุวิญญาณ๕สวนะได้ยินเสียงตรงกับโสตวิญญาณ๖ฆายนะได้กลิ่นตรงกับฆานวิญญาณ๗สายนะรู้รสตรงกับชิวหาวิญญาณ๘ผุสนะถูกต้องโผฏฐัพพะตรงกับกายวิญญาณ๙สัมปฏิจฉนะรับอารมณ์๑๐สันตีรณะพิจารณาอารมณ์๑๑โวฏฐัพพนะตัดสินอารมณ์๑๒ชวนะเสพอารมณ์๑๓ตทาลัมพณะรับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนจะกลับสู่ภวังค์และ๑๔จุติเคลื่อนจากภพปัจจุบันเพื่อจะไปสู่ภพหน้าค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘วิญญาณ_(ศาสนาพุทธ) วิญญาณ

     คือที่ดินที่แยกต่างหากจากที่ดินของบ้านเมืองเป็นเขตที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระสงฆ์เป็นการเฉพาะเพื่อใช้สร้างอุโบสถโดยประกาศเป็นพระบรมราชโองการโดยที่ที่พระราชทานแล้วจะมีเครื่องหมายเป็นเครื่องบอกเขตเครื่องหมายนี้เรียกว่านิมิตและภายในวิสุงคามสีมาจะนิยมสร้างโรงอุโบสถไว้เพื่อทำสังฆกรรมการที่จะได้เป็นอุโบสถถูกต้องตามพระวินัยนั้นจะต้องได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อนแล้วพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันสวดถอนพื้นที่ทั้งหมดในเขตสีมานั้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นสีมาเก่าเรียกว่าถอนสีมาหลังจากนั้นจึงสวดประกาศให้เป็นพื้นที่นั้นเป็นสีมาเรียกว่าผูกสีมาทำดังนี้จึงจะเป็นสีมาหรือเป็นอุโบสถถูกต้องตามพระวินัย พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘วิสุงคามสีมา วิสุงคามสีมา

     คุกดีๆนี่เองแหละค่ะนักโทษก็คนทั่วไปนี่แหละส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวด้วยสิว่าติดคุกอยู่นั่นก็คือภพภูมิที่คนทุกคนต้องตายแล้วก็เกิดเกิดแล้วก็ตายตายแล้วก็เกิดวนไปวนมาอยู่อย่างนี้ได้ไปอยู่คุกชั้นดีบ้างชั้นไม่ดีบ้างขึ้นอยู่ที่การปฏิบัติตัวของคนคะแถมมีให้เลือกอยู่ตั้ง๓๑ภูมิแน่ะชั้นดีหน่อยก็อย่างเช่นชั้นที่คนเรียกว่าสวรรค์ชั้นแย่หน่อยก็นรกไงหล่ะค่ะวัฏสงสาร วัฏสงสาร วัฏสงสาร ภพสามคุก

     คนทั่วไปนำเอาคำสังฆกรรมมาใช้ในความหมายว่าการร่วมกันกระทำกิจกรรมกล่าวเข้าใจง่ายๆก็คือการที่ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วยหรือไม่มีใครอยากร่วมสังสรรค์ด้วยเราเรียกว่าไม่ร่วมสังฆกรรมกันไงคะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สังฆกรรม สังฆกรรม สังฆกรรม สังฆกรรม

     ความดำริหรือแนวความคิดแบบมิจฉาสังกัปปะนี้เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมากเพราะตามธรรมดานั้นเมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์ก็จะเกิดความรู้สึกหนึ่งในสองอย่างคือถูกใจซึ่งก็จะชอบติดใจหรือไม่ถูกใจก็จะไม่ชอบมีขัดเคืองตามมาจากนั้นความดำรินึกคิดต่างๆก็จะดำเนินไปตามแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบนั้นความดำริหรือความนึกคิดที่เอนเอียงเช่นนี้เกิดขึ้นเพราะมองสิ่งต่างๆอย่างผิวเผินรับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้นโดยขาดสติสัมปชัญญะแล้วปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึกหรือตามเหตุผลที่มีความชอบใจไม่ชอบใจเป็นตัวนำไม่ได้ใช้ความคิดแยกแยะส่วนประกอบและความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัยตามหลักโยนิโสมนสิการ สัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะ มองอย่างผิวเผิน

     ความยึดมั่นถือมั่นในศีลข้อสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิดและพรตข้อที่พึงถือปฏิบัติแต่เป็นการยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลสอย่างความเชื่อหรือการปฏิบัติที่ทำตามๆกันมาแต่ไม่ถูกต้องโดยงมงายด้วยอวิชชาเช่นการพ้นทุกข์ได้โดยถือศีลแต่ฝ่ายเดียวไม่ต้องปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญาการปฏิบัติแต่สมาธิแล้วจะบรรลุมรรคผลต่างๆจากสมาธิโดยตรงจึงขาดการวิปัสสนาการอ้อนวอนบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆนาๆการทรมานตนเพื่อบรรลุธรรมการคล้องพระเพื่อคงกระพันโชคลาภหรือย่างการทำบุญแต่ฝ่ายเดียวเพื่อหวังมรรคผลล้างบาปได้ค่ะ สีลัพพตุปาทาน

     ความสงบระงับสังขารทั้งปวงหมายถึงพระนิพพานสัพพสังขารสมถะ

     ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาก็อาจถือว่าเป็นศีลพรตในสีลัพพตปรามาสได้กล่าวคือความยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญศีลในทางพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ของตนว่าเป็นสิ่งประเสริฐจนละเลยการปฏิบัติทางด้านจิตใจและความเชื่ออย่างยึดมั่นถือมั่นว่าการบำเพ็ญเพียงแต่ศีลในพระพุทธศาสนาตามที่ตนยึดถือเพียงอย่างเดียวจะช่วยให้เป็นผู้บริสุทธิ์ได้เช่นความเชื่อว่าการถือศีลจะช่วยให้คนบริสุทธิ์ซึ่งรวมไปถึงความเชื่อในการทานเจหรือการปิดวาจาหรือความเชื่อในอำนาจอิทธิฤทธิ์บันดาลของพระพุทธรูปหรือพระสงฆ์เป็นต้น สีลัพพตปรามาส สีลัพพตปรามาส

     คัมภีร์สุตตวิภังค์มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยภาค๑ถึง๒และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อฎีกาสารัตถทีปนีฎีกาพระวินัยภาค๑ถึง๓ สุตตวิภังค์ สุตตวิภังค์

     คัมภีร์สุตตวิภังค์หรือวิภังค์เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระวินัยปิฎกเถรวาทมีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่๑ถึง๓ว่าด้วยสิกขาบทในพระปาติโมกข์ของพระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์ซึ่งเป็นอาทิพรหมจาริยกาสิกขาการจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือสุตตวิภังค์ขันธกะและปริวารค่ะ สุตตวิภังค์ สุตตวิภังค์

     คำว่าสังขารในเรื่องไตรลักษณ์กับในเรื่องขันธ์จะต่างกันคือสังขารในเรื่องไตรลักษณ์เป็นรูปธรรมในเรื่องขันธ์เป็นนามธรรมค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สังขาร สังขาร สังขาร สังขาร ไตรลักษณ์ขันธ์ต่างกัน

     คือการที่ใครก็ตามที่เกิดมาย่อมมีหน้าที่ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้นดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนใครเป็นสามีก็รับผิดชอบต่อหน้าที่สามีเลี้ยงครอบครัวให้ดีไม่ปันใจให้หญิงอื่นจริงใจกับภรรยาใครเป็นภรรยาก็จริงใจต่อหน้าที่ของภรรยาดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อยไม่เที่ยวเตร่ไม่เล่นการพนันเผาผลาญทรัพย์เป็นลูกก็ต้องมีความรับผิดชอบว่าเราเป็นลูกมีหน้าที่รักษาวงศ์ตระกูลให้ดีถ้าพ่อแม่แก่เฒ่าก็ต้องเลี้ยงดูท่านทหารก็จริงใจลงไปในหน้าที่ทหารเป็นตำรวจก็รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตำรวจไม่ว่าใครจะเป็นอะไรก็ทุ่มไปกับหน้าที่ของตัวให้เต็มที่หากทำเช่นนี้ได้จึงเรียกว่ามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สัจจะ สัจจะ สัจจะ สัจจะ ต่อหน้าที่

     คือสวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ค่ะ สรภัญญะ สรภัญญะ สรภัญญะ สรภัญญะ สังโยค

     คือระบบความจำที่สามารถจำคนสัตว์สิ่งของและเหตูการณ์ต่างๆได้เช่นจำสิ่งที่เห็นจำเสียงจำกลิ่นจำรสจำชื่อคนจำหนังสือจำเรื่องในอดีตได้ว่าเป็นสีเขียวไพเราะหอมหวานเป็นต้นนอกจากนั้นยังเป็นขันธ์หนึ่งใน๕ขันธ์และเป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมี๒ประเภทคือสัญญา๖และสัญญา๑๐ค่ะและในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสัญญานั้นย้อนกลับไปได้ไม่สิ้นสุดเช่นเราลองนึกถึงตัวเราในอดีตที่กำลังเศร้ากับการกระทำที่ผิดพลาดของตนในอดีตในสัญญาของตัวเราในอดีตก็มีเหตุการณ์ที่ตัวเราในอดีตขณะนั้นมีภาพตัวเราที่เป็นอดีตของอดีตตัวเราทำความผิดพลาดซ้อนอีกดังนั้นสัญญาจะมีลักษณะซ้อนทับกับไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุดค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สัญญา_(ศาสนาพุทธ) สัญญา สัญญา สัญญา ระบบความจำ

     ค่ะถึงแม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชนอย่างมานะอุทธัจจะหรืออวิชชาแต่สังโยชน์เบื้องสูงนั้นเป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมากเลยหล่ะค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดวัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘อริยบุคคล สังโยชน์เบื้องสูง สังโยชน์ สังโยชน์ กิเลสที่ละเอียดกว่า

     คนเห็นผิดวิปลาสจากความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงเป็นเพราะอคติทั้ง๔ต่อสิ่งทั้งปวงค่ะ อคติ อคติ

     ความยึดมั่นความถือมั่นยึดมั่นด้วยอำนาจของกิเลสหรือความยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามอำนาจของตัณหาหรือความยึดมั่นถือมั่นตามความพึงพอใจของตัวของตนค่ะ อุปาทาน อุปาทาน อุปาทาน ยึดมั่น

     ความยึดมั่นถือมั่นในคำพูดวาทุวาทะที่ใช้แสดงความเป็นของตัวเป็นของตนจึงเกิดการไปหลงคิดหลงยึดหรือจดจำสัญญาเอาอย่างเป็นจริงเป็นจังว่าเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริงโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชากล่าวคือเกิดความหลงยึดเนื่องจากวาทะการพูดจาเพื่อใช้สื่อสารกันให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันในสิ่งต่างๆในทางโลกโดยไม่รู้ตัวและซึ่งย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างประจำสมํ่าเสมอในการดำรงชีวิตจึงเกิดการซึมซับแล้วซึมซ่านไปย้อมจิตให้หลงไปยึดไปหลงในคำพูดต่างๆเหล่านั้นว่าเป็นจริงเป็นจังอย่างจริงแท้แน่นอนเช่นคำพูดในการแสดงความเป็นเจ้าของเช่นนี่บ้านฉันนั่นรถฉันแฟนฉันสมบัติฉันนี่ของฉันจิตจึงไปหลงยึดด้วยอวิชชาความเคยชินในคำพูดที่แสดงความเป็นตัวของตนเหล่านั้นที่ใช้สื่อสารเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในทางโลกๆเข้าไปโดยไม่รู้ตัวอยู่เป็นประจำด้วยอวิชชาค่ะ อัตตวาทุปาทาน

     คำว่าไม่ใช่ตัวตนหมายความว่าตัวตนที่แท้จริงมีอยู่แต่กลับหลงไปยึดเอาขันธ์๕ซึ่งไม่ใช่ตัวตนเข้ามาเป็นตัวตนด้วยความเข้าใจผิดเพราะไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงค่ะ อัตตาและอนัตตา อนัตตา อนัตตา อนัตตา หลงยึดขันธ์

     คือการที่ภิกษุแสดงตนหรือพูดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนได้ฌานชั้นนั้นชั้นนี้ตนได้บรรลุวิโมกข์ได้สมาธิสมารถเข้าสมาบัติได้หรือสำเร็จมรรคสำเร็จผลอย่างนั้นอย่างนี้เรียกว่าอวดอุตริมนุสธรรมหรืออวดอุตริมนุษยธรรมค่ะปัจจุบันถ้อยคำดังกล่าวยังใช้เรียกผู้ชอบอวดอ้างตนเหนือกว่าคนอื่นหรือทำอะไรที่แผลงๆที่คนทั่วไปไม่ทำกันว่าอวดอุตริหรืออุตริเฉยๆอีกด้วยค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘อุตริมนุสธรรม อุตริมนุสธรรม



๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ