ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ
ปฐวีกสิณมีฤทธิ์ดังนี้เช่นเนรมิตคนๆเดียวให้เป็นคนมากๆได้ให้คนมากเป็นคนๆเดียวได้ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้สามารถย่อแผ่นดินให้ใกล้กำลังการในเดินทางอาโปกสิณสามารถเนรมิตของแข็งให้อ่อนได้เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหรือหินที่กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำอธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อนอธิษฐานในสถานที่ขาดแคลนฝนให้เกิดมีฝนอย่างนี้เป็นต้นเตโชกสิณอธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ทำแสงสว่างให้เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่างๆในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ทำให้เกิดความร้อนในที่ทุกสถานได้เมื่ออากาศหนาวสามารถทำให้เกิดความอบอุ่นได้วาโยกสิณอธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลมหรืออธิษฐานให้ตัวเบาเหาะไปในอากาศก็ได้สถานที่ใดไม่มีลมอธิษฐานให้มีลมได้นีลกสิณสามารถทำให้เกิดสีเขียวหรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้ปีตกสิณสามารถเนรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้โลหิตกสิณสามารถเนรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์โอทากสิณสามารถเนรมิตสีขาวให้ปรากฏและทำให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักขุญาณเช่นเดียวกับเตโชกสิณอาโลกสิณเนรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็นกรรมฐานสร้างทิพยจักขุญาณโดยตรงอากาสกสิณสามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้งสถานที่ใดเป็นอับด้วยอากาศสามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่งมีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ความต้องการได้ค่ะ
แต่ว่าอย่าไปติดเรื่องพวกนี้เนอะเพราะน่าจะมีเยอะอยู่แหละค่ะที่ติดตรงนี้กันก็เลยไม่พ้นบ่วงมารซักที
กสิณ
กสิณ
กสิณ
กสิณ
บ่วงมาร
ปุถุชนแปลว่าผู้มีกิเลสหนาค่ะคือคนปกติที่ยังมีกิเลสคนธรรมดาสามัญคนที่ยังมิได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยะ
กัลยาณปุถุชนหมายถึงคนธรรมดาที่มีกัลยาณธรรมประพฤติปฏิบัติดีงามมีคุณธรรมสูงได้แก่คนที่เรียกกันว่ามีศีลมีธรรมมั่นคงอยู่ในศีลในธรรมดำรงชีวิตด้วยการทำมาหากินอย่างสุจริตมีความซื่อสัตย์อดทนขยันหมั่นเพียรมีจิตใจงดงามเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน
กัลยาณปุถุชนจัดเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูงแม้จะมิได้เป็นอริยบุคคลแต่ได้รับความเคารพนับถือและยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
กัลยาณปุถุชน
กัลยาณปุถุชน
กัลยาณปุถุชน
กัลยาณปุถุชน
ปริณายกแก้วหรือขุนพลแก้วคือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นขุนศึกคู่ใจเป็นบัณฑิตนักปราชญ์มีความฉลาดเฉลียวรู้สิ่งใดควรไม่ควรคอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอพระเจ้าจักรพรรดิขุนพลแก้ว
ปัจจัยในคำวัดหมายถึงเครื่องอาศัยของบรรพชิตคือสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับดำรงชีพของภิกษุสามเณรเรียกอีกอย่างหนึ่งว่านิสสัยมีสี่อย่างจึงได้ชื่อว่าจตุปัจจัยหรือปัจจัย๔จีวรคือเครื่องนุ่งห่มได้แก่ไตรจีวรผ้าห่มผ้าอาบน้ำฝนบิณฑบาตคืออาหารได้แก่ข้าวน้ำผลไม้เป็นต้นเสนาสนะคือที่นอนที่นั่งคือกุฏิศาลาเตียงตั่งหมอนเป็นต้นคิลานเภสัชคือยารักษาโรคปัจจัยเหล่านี้เป็นของควรถวายหรือเป็นของที่สามารถถวายภิกษุสามเณรได้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปัจจัยไทยทานในปัจจุบันเงินที่ถวายพระหรือวัดก็นิยมเรียกว่าปัจจัยคงเห็นว่าเงินนั้นสามารถนำไปใช้สอยซื้อหาปัจจัย๔อย่างนั้นได้หรือเป็นสิ่งแทนปัจจัย๔นั้นจึงพลอยเรียกว่าปัจจัยไปด้วยพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘จตุปัจจัย
จตุปัจจัย
จตุปัจจัย
จตุปัจจัย
เครื่องอาศัยพระ
ปัจจุบันนี้ตักศิลาอยู่ในเขตประเทศปากีสถานตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงอิสลามาบัดคงเหลือแต่ซากเมืองให้ได้เห็นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือพิพิธภัณฑ์ตักศิลาซึ่งได้เก็บรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของชาวตักศิลายุคต่างๆเอาไว้อย่างเป็นระบบระเบียบรวมถึงซากสถูปเจดีย์วัดวาอารามแลปฏิมากรรมแบบศิลปะคันธาระจำนวนมากอันเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้คนจนรัฐบาลปากีสถานได้อนุรักษ์ไว้เป็นโบราณสถานภายใต้การสนับสนุนขององค์การยูเนสโกตักศิลาเมืองตักศิลาตักศิลาเมืองตักศิลาประเทศปากีสถาน
ประโยชน์ปัจจุบันค่ะ_?%%%%%%%ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ทิฏฐธัมมิกัตถะปัจจุบัน
ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่มี๕หมวดคือสีลขันธ์สมาธิขันธ์ปัญญาขันธ์วิมุตติขันธ์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์และกำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์แบ่งเป็นวินัยปิฎก๒๑,๐๐๐สุตตันตปิฎก๒๑,๐๐๐และอภิธรรมปิฎก๔๒,๐๐๐พระธรรมขันธ์
ธรรมขันธ์
พระธรรมขันธ์
ปัจจุบันสถานที่พระพุทธเจ้าประกาศพระอนุตตรสัจธรรมเป็นครั้งแรกและสถานที่บังเกิดพระสงฆ์องค์แรกในโลกอยู่ในบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูปภายในอิสิปตนมฤคทายวันหรือสารนาถในปัจจุบัน
วันอาสาฬหบูชา
ธรรมเมกขสถูป
ธรรมเมกขสถูป
ภายในอิสิปตนมฤคทายวัน
ปัจจุบันนิตยภัตใช้ในความหมายว่าเงินค่าอาหารที่ทางราชการถวายแก่สงฆ์เป็นประจำมีความเป็นมาคือในอดีตพระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์หรือที่เคารพนับถือเป็นการส่วนพระองค์โดยให้เจ้าหน้าที่จัดถวายประจำต่อมาพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์มีมากขึ้นและอยู่ตามหัวเมืองก็มีความไม่สะดวกแก่การจัดอาหารถวายแม้จะเปลี่ยนเป็นเงินแล้วก็ยังคงเรียกว่านิตยภัตเหมือนเดิมนิตยภัตถือว่าเป็นเครื่องสักการะที่พระเจ้าแผ่นดินถวายแก่พระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและบ้านเมือง
นิตยภัต
นิตยภัต
เงินค่าอาหารที่ทางราชการถวายแก่สงฆ์
นิตยภัต
ปกิณณกทุกข์คือทุกข์จรทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราวได้แก่ความเศร้าโศกความพร่ำเพ้อรำพันความไม่สบายใจความน้อยใจความคับแค้นใจความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบความผิดหวังไม่ได้ตามที่ต้องการปกิณณกทุกข์
ปฏิคาหกหมายถึงผู้รับทานผู้รับของถวายจากทายกปกติใช้กับนักพรตนักบวชหรือบรรพชิตเช่นภิกษุสามเณรในบุคคลทั่วไปก็มีใช้บ้างในกรณีที่เป็นผู้เข้าไปรับทานจากทายกผู้ใจบุญเช่นพระเวสสันดรให้ทานก็มีปฏิคาหกที่เป็นคนทั่วไปมารับทานกันมากปฏิคาหกที่เป็นพระอริยบุคคลและเป็นผู้ทรงศีลทรงธรรมถือว่าเป็นปฏิคาหกผู้ยอดเยี่ยมนำให้ทายกผู้ถวายได้รับบุญอานิสงส์มากเพราะเป็นปฏิคาหกผู้หมดกิเลสแล้วหรือเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์เป็นผู้ปฏิบัติธรรมพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปฏิคาหกปฏิคาหกหมายถึงอะไร
ปฏิคาหกแปลว่าผู้รับคู่กับคำว่าทายกที่แปลว่าผู้ให้พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปฏิคาหกปฏิคาหกแปลว่าอะไร
ปฏิบัติบูชาเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติคือปฏิบัติตามแบบที่ท่านทำปฏิบัติตามคำที่ท่านสอนได้แก่ท่านปฏิบัติมาอย่างไรก็ปฏิบัติตามท่านสอนอย่างไรแนะนำอย่างไรก็ทำตามด้วยความเต็มใจด้วยการประพฤติดีปฏิบัติชอบกระทำแต่สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์เช่นปฏิบัติตามคำสั่งสอนคำเตือนคำแนะนำของพระพุทธเจ้าของบิดามารดาของครูอาจารย์เป็นต้นปฏิบัติบูชาคืออะไร
ปฏิบัติบูชาเป้นการบูชาที่สำคัญยิ่งยอดเยี่ยมกว่าอามิสบูชาพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปฏิบัติบูชา
ปฏิปทาแปลว่าทางดำเนินข้อปฏิบัติแนวทางปฏิบัติความประพฤติในทางธรรมมักปรากฏต่อท้ายคำอื่นๆเช่นมัชฌิมาปฏิปทาทุกขนิโรธปฏิปทาเป็นต้นส่วนปฏิปทาในทางโลกมักถูกนำมาใช้ในความหมายว่าความประพฤติและใช้กับความประพฤติที่ดีงามไม่ใช้กับความประพฤติที่ไม่ดีเช่นใช้ว่าเขาเป็นคนมีปฏิปทาอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้วหมายความว่าเขาเป็นคนมีความประพฤติที่ดีเช่นชอบช่วยเหลือคนอื่นมีอัธยาศัยดีหรือมีอุปนิสัยใจคอตามที่แสดงออกมาเช่นนั้นพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘ปฏิบัติบูชาปฏิปทาแปลว่าอะไร
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหมายถึงความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน(วิปัสสนาญาณ๙)รู้ทุกขอริยสัจจ์ทั้ง๘ระดับจึงรู้สมุทัยอริยสัจจ์ทั้ง๘จึงรู้นิโรธอริยสัจจ์ทั้ง๘จึงรู้มรรคอริยสัจจ์ทั้ง๘และพิจารณาทั้งสิ้นพร้อมกัน(สามัคคีธรรม)เมื่อถึงสัจจานุโลมมิกญาณคือหมุนธรรมจักรทั้ง๘และพิจารณาดุจผู้พิพากษาพิจารณาเหตุทั้งสิ้นปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิภาคนิมิตคือเครื่องหมายเทียบเคียงหรืออารมณ์เทียบเคียงเกิดจากอุคหนิมิตที่เจนตาเจนใจจนใสบริสุทธิ์และสามารถย่อหรือขยายส่วนแห่งนิมิตนั้นได้ตามต้องการปฏิภาคนิมิต
ปฐมเทศนาอ่านได้หลายอย่างคือปะถมมะเทสะนาปะถมมะเทดสะหนาปะถมเทดสะหนาปฐมเทศนาพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปฐมเทศนา
ปฐมเทศนาอ่านได้หลายอย่างคือปะถมมะเทสะนาปะถมมะเทดสะหนาปะถมเทดสะหนาแปลว่าการแสดงธรรมครั้งแรกพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปฐมเทศนาปฐมเทศนา
ปฐมเทศนาเป็นคำเรียกเทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕คือพระโกณฑัญญะพระวัปปะพระภัททิยะพระมหานามะและพระอัสสชิที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสีเมื่อวันเพ็ญกลางเดือน๘นั่นคือวันอาสาฬหบูชานั่นเองค่ะปฐมเทศนามีชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเรียกสั้นๆว่าธรรมจักรซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องอริยสัจ๔ได้แก่ทุกข์สมุทัยนิโรจมรรคที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้มาพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปฐมเทศนาปฐมเทศนา
ปทปรมะพวกที่ไร้สติปัญญาและยังเป็นมิจฉาทิฏฐิแม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะไร้ซึ่งความเพียรเปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตมยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลาไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบานปทปรมะ
ปรมัตถธรรมคือสภาพธรรมที่มีจริงเป็นอภิธรรมเป็นสภาพธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ประสูติและตรัสรู้สภาพธรรมทั้งหลายก็ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยอยู่แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาเพราะพระองค์ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เองว่าธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลและธรรมทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้ใดทั้งสิ้นปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมนั้นมิใช่ธรรมที่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจได้เพราะปรมัตถธรรมเป็นธรรมที่มีจริงฉะนั้นความเห็นถูกความเข้าใจถูกจึงเป็นการรู้ความจริงของปรมัตถธรรมตามลักษณะของปรมัตถธรรมนั้นๆปรมัตถธรรมสังเขปจิตตสังเขปและภาคผนวกโดยสุจินต์บริหารวนเขตต์มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาพศ๒๕๓๖(หรือเว็บไซด์บ้านธัมมะ)ปรมัตธรรมปรมัตธรรมอภิธรรมปรมัตธรรมความจริง
ประคดคือเครื่องคาดเอวหรือสายคาดอกของภิกษุสามเณรเรียกว่ารัดประคดก็มีถ้าใช้รัดเอวนิยมใช้ด้ายถักเป็นแผ่นเหมือนเข็มขัดมีสายโยงสำหรับผูกทั้งสองข้างยาวประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตรเรียกว่าประคดเอวถ้าใช้รัดอกนิยมใช้เป็นผ้าหนาๆพับสองชั้นกว้างประมาณ๑๕เซนติเมตรยาวประมาณเมตรครึ่งถึงสองเมตรเรียกว่าประคดอกหรือผ้ารัดอกพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ประคดประคดคืออะไร
๒๓ ความรู้ต่อไป
ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ