| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     มหานิกายเป็นคำเรียกนิกายหรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นฝ่ายคันถธุระมหานิกายหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคามวาสี เดิมนั้นคำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาทในประเทศไทยออกเป็นมหานิกายและธรรมยุติกนิกายยังไม่มีเนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในสมัยรัชกาลที่๔นั้นไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่างๆโดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ทั้งสิ้นจนเมื่อพระวชิรญาณเถระหรือเจ้าฟ้ามงกุฏพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔ได้ก่อตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นในปีพศ๒๓๗๖แยกออกจากคณะพระสงฆ์ไทยที่มีมาแต่เดิมซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในสมัยนั้นจึงทำให้พระองค์คิดคำเรียกพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยที่เป็นสายเถรวาทลังกาวงศ์เดิมว่าพระส่วนมากหรือมหานิกาย กล่าวโดยสรุปมหานิกายก็คือพระสงฆ์สายเถรวาทลังกาวงศ์ดั้งเดิมในประเทศไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย มหานิกาย มหานิกาย

     มหายานมาจากธาตุศัพท์ภาษาบาลีสันสกฤตมหาบวกยานแปลว่าพาหนะที่ใหญ่เป็นคำเรียกที่อาศัยการเปรียบเทียบจากคำว่าหีนยานซึ่งแปลว่าพาหนะที่เล็กๆมหายานยังมีความหมายว่ายานที่สูงสุดตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานคำว่ามหายานไม่เพียงแต่เป็นยานใหญ่และสูงสุดเท่านั้นหากเป็นยานที่รื้อขนสรรพสัตว์ได้ทุกประเภททุกวัยรวมทั้งสัตว์โลกทุกรูปนามเพื่อไปสู่พระนิพพานและยานนี้ยังหมายถึงยานที่จะไปถึงพุทธภูมิแล้วสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่ามหายานจึงเป็นการเปรียบเทียบหมายถึงการขนสัตว์ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากกว่าสาวกยานในคัมภีร์มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์คุรุนาคารชุนะปราชญ์ฝ่ายมหายานได้อธิบายความหมายของมหายานไว้ว่าพระพุทธธรรมมีเอกรสเดียวคือรสแห่งวิมุตติความรอดพ้นจากปวงทุกข์แต่ชนิดของรสมี๒ชนิดคือชนิดแรกเพื่อตัวเองชนิดที่สองเพื่อตัวเองและสรรพสัตว์ด้วยอันหมายความว่าฝ่ายสาวกยานมุ่งเพียงความหลุดพ้นเป็นอรหันต์สิ้นกิเลสเฉพาะตนไม่มีปณิธานในการโปรดสรรพสัตว์ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยแต่ฝ่ายมหายานย่อมมีอุคมคติตรงกันข้ามกล่าวคือย่อมมุ่งพุทธภูมิมีปณิธานจะตรัสรู้เป็นพระพุทธะเพื่อขนสัตว์ให้พ้นทุกข์จนหมดสิ้นอธิบายว่าพุทธศาสนิกชนฝ่ายสาวกยานโดยทั่วไปมุ่งแต่สาวกภูมิเป็นสำคัญฉะนั้นจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสาวกยานส่วนพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานย่อมมุ่งพุทธภูมิทั้งนั้นจึงมีอีกชื่อว่าโพธิสัตวยานหรือพุทธยาน ในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายความหมายของมหายานว่าถ้าสรรพสัตว์ได้สดับธรรมจากพระผู้มีพระภาคแล้วบังเกิดศรัทธาความเชื่อปสาทะความเลื่อมใสได้วิริยะบำเพ็ญบารมีเพื่อสัพพัญญุตญาณอันเป็นธรรมชาติญาณอันปราศจากครูอาจารย์ญาณแห่งพระตถาคตกำลังความกล้าหาญมีความกรุณาปรารถนาต่อความสุขของสรรพสัตว์บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ต่อทวยเทพและมนุษย์โปรดสรรพนิกรให้พ้นทุกข์นั่นชื่อว่ามหายาน นอกจากนี้พระนาคารชุนได้กล่าวไว้ในทวาทศนิกายศาสตร์อีกว่ามหายานคือยานอันประเสริฐกว่ายานทั้ง๒เหตุนั้นจึงชื่อว่ามหายานพระพุทธเจ้าทั้งหลายอันใหญ่ยิ่งทรงอาศัยซึ่งยานนี้และยานนี้จะสามารถนำเราเข้าถึงพระองค์ได้เหตุนั้นจึงชื่อว่ามหาอนึ่งปวงพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษได้อาศัยยานนี้เหตุนั้นจึงชื่อว่ามหาและอีกทั้งสามารถดับทุกข์อันไพศาลของสรรพสัตว์และประกอบประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้ถึงพร้อมเหตุนั้นจึงชื่อว่ามหาอนึ่งพระโพธิสัตว์ทั้งปวงมีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หรือเจ้าแม่กวนอิมพระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์พระเมตไตรยโพธิสัตว์พระมัญชุศรีโพธิสัตว์พระสมันตภัทรโพธิสัตว์และพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์เป็นต้นปวงมหาบุรุษได้ทรงอาศัยเหตุนั้นจึงชื่อว่ามหาอนึ่งเมื่ออาศัยยานนี้แล้วก็ย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวงเหตุนั้นจึงชื่อว่ามหา นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีข้อความที่ยกย่องมหายานอีกเป็นจำนวนมากในคัมภีร์ของมหายานเช่นเรียกว่าอนุตรยานยานอันสูงสุดโพธิสัตวยานยานของพระโพธิสัตว์พุทธยานยานของพระพุทธเจ้าเอกยานยานอันเอกเป็นต้นเพราะฉะนั้นคำว่ายานในพระพุทธศาสนาจึงเป็นดั่งคำเปรียบเปรยของมรรควิถีอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้นในรูปแบบที่แตกต่างกันนั่นเอง มหายาน มหายาน

     มหายานเป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาทที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดียเนปาลจีนญี่ปุ่นเกาหลีเวียดนามมองโกเลียไปจนถึงบางส่วนของรัสเซียจุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอุตตรนิกายปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน มหายาน มหายาน

     มีอยู่ที่ที่นึงบนโลกนี่แหละไฟไม่มีทางไหม้ตลอดกัปนี้เลยแหละค่ะแต่เสียดายเองก็ไม่ทราบสิคะว่าอยู่ที่ตรงไหนโดยพระธวัชชัยธชชโยชมรมพุทธเบญจจินดา๒๔มีนาคมพศ๒๕๕๘ที่ที่ไม่มีทางไฟไหม้ที่ที่ที่ที่ไม่มีทางไฟไหม้ไฟไม่ไหม้

     มารดาของท่านศรัทธาจะบวชตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงานแต่บิดาและมารดาไม่อนุญาตหลังจากแต่งงานแล้วขออนุญาตสามีในที่สุดสามีอนุญาตให้บวชเธอจึงบวชเป็นภิกษุณีโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ครั้นอยู่มาครรภ์ได้ใหญ่ขึ้นภิกษุณีทั้งหลายรังเกียจเธอจึงนำไปให้พระเทวทัตตัดสินพระเทวทัตตัดสินว่าเธอศีลขาดแม้เธอจะชี้แจงเหตุผลอย่างไรก็ไม่ยอมรับฟังภิกษุณีทั้งหลายจึงพาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงมอบหมายให้พระอุบาลีเถระตัดสินพระอุบาลีเถระเชิญตระกูลใหญ่ๆชาวสาวัตถีและนางวิสาขามาพิสูจน์ได้ว่านางตั้งครรภ์มาก่อนบวชศีลของนางบริสุทธิ์ค่ะนางภิกษุณีนั้นคลอดบุตรเป็นชายหน้าตาน่ารักผิวพรรณดุจทองคำพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงให้เลี้ยงดูไว้และทรงตั้งชื่อให้ว่ากัสสปะอีกอย่างหนึ่งคนทั้งหลายรู้จักท่านในนามว่ากุมารกัสสปะเพราะเป็นเด็กที่พระราชาทรงชุบเลี้ยงอย่างราชกุมารค่ะพระกุมารกัสสปะพระกุมารกัสสปเถระพระมหากัสสปะ

     มามะมามะง่ายง่ายเลยเป็นผู้ให้ค่ะยากขึ้นมาหน่อยก็รักษาศีลปิดด้วยหัดทำสมาธิค่ะ พระธรรมคำสอน คำสอน พระธรรม ทานศีลภาวนา

     มีพระนามเดิมว่าสิทธัตถะทรงประสูติเมื่อวันขึ้น๑๕ค่ำเดือนวิสาขะหรือเดือน๖เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งนครกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะทันทีที่ประสูติก็ทรงดำเนินได้๗ก้าวโดยเบื้องใต้พระบาทมีดอกบัวผุดขึ้นรองรับและทรงเปล่งอภิสวาจาว่า "เราเป็นผู้เลิศเป็นประเสริฐที่สุดในโลกการเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายภพใหม่ต่อไปไม่มี" หลังจากประสูติได้๕วันก็ได้รับคำพยากรณ์จากพราหมณ์ว่าถ้าพระองค์เสด็จอยู่ครองราชสมบัติจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพมากแต่ถ้าเสด็จออกผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลกพระสมณโคดมพุทธเจ้า พระสมณโคดมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ตรัสรู้



๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ