| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     สัตว์ผู้มีขันธ์๑ขันธ์คือหากยังไม่ตายก็จะมีแต่รูปไม่มีเวทนาไม่มีสัญญาไม่มีสังขารไม่มีวิญญาณก็พวกที่ได้ฌานสมาบัติแหละค่ะและเมื่อร่างกายสลายตายพังไปก็ไปเกิดเป็นอสัญญีพรหมหรือพรหมลูกฟักจิตสังขารดับลงแต่เมื่อหมดอำนาจการกดให้ดับไว้ก็กลับวนมาเกิดใหม่ได้ดังเดิมค่ะอริยะบุญอริยะปุญโญ?ขันธ์ขันธ์ขันธ์อสัญญีพรหม

     สัตว์ผู้มีขันธ์๔ขันธ์คือมีเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณได้แก่สัตว์นรกเปรตอสุรกายเทวดาอินทร์พรหมค่ะอริยะบุญอริยะปุญโญ?ขันธ์ขันธ์ขันธ์ไม่มีกาย

     สัตว์ผู้มีขันธ์๕ขันธ์คือมีรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณได้แก่มนุษย์สัตว์ค่ะอริยะบุญอริยะปุญโญ?ขันธ์ขันธ์ขันธ์พรหม

     สามารถเรียกได้ว่าเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยระบบหนึ่งคือไม่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทรงอำนาจสิทธิ์ขาดมีแต่ผู้เป็นประมุขแห่งรัฐซึ่งบริหารงานโดยความเห็นชอบจากรัฐสภาซึ่งจะประกอบไปด้วยเหล่าสมาชิกจากเจ้าวงศ์ต่างๆวึ่งรวมเป็นคณะผู้ครองแคว้นคณาธิปไตยคณาธิปไตยคณาธิปไตย

     สัทธาจริตหนักไปทางเชื่อถือจริงใจน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจเชื่อโดยไร้เหตุผลพวกนี้ถูกหลอกได้ง่ายใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณาชอบเพื่อนชอบร่วมกลุ่มพวกมากลากไปแคร์สังคมกลัวคนนินทาชอบช่วยเหลือผู้อ่อนแอ่ สัทธาจริต จริต สัทธาจริต ถูกหลอกง่าย

     สมัยต่อมามีจีวรหลายประเภทเกิดขึ้นภิกษุทั้งหลายไม่แน่ใจว่าจีวรชนิดใดที่ทรงอนุญาตจึงกราบทูลเรื่องนั้นต่อพระศาสดาพระพุทธองค์ทรงอนุญาตจีวร๖ชนิดคือจีวรทำด้วยเปลือกไม้ทำด้วยฝ้ายทำด้วยไหมทำด้วยขนสัตว์ทำด้วยป่านทำด้วยของเจือกันผ้าที่ใช้ทอจีวรไตรจีวรทรงอนุญาตจีวร๖ชนิด

     สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาและประกาศส่งพระสาวกไปเผยแพร่พระศาสนาค่ะ วันอาสาฬหบูชา ธรรมเมกขสถูป ธรรมเมกขสถูป สถานที่แสดงปฐมเทศนา

     สำหรับข้อห้ามที่ว่าผู้หญิงห้ามโดนตัวพระความจริงแล้วที่มาของคำสอนนี้มาจากบทบัญญัติวินัยของภิกษุหมวดอาบัติสังฆาทิเสสข้อ๒ที่ว่าภิกษุมีความกำหนัดอยู่จับต้องกายหญิงต้องสังฆาทิเสสหมายความว่าหากภิกษุมีความรู้สึกพึงพอใจหรือมีอารมณ์ทางเพศกับสุภาพสตรีแล้วเอามือไปสัมผัสถูกกายสุภาพสตรีหรือภิกษุเอาร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของภิกษุไปสัมผัสเข้ากับกายของสตรีภิกษุนั้นต้องอาบัติสังฆาทิเสสซึ่งคำว่าอาบัตินี้คือการปรับความผิดกับพระสงฆ์เท่านั้นไม่ได้ปรับความผิดแก่ฆราวาสดังนั้นความจริงแล้วก็คือห้ามพระถูกต้องกายหญิงไม่ได้ห้ามไม่ให้ผู้หญิงถูกต้องกายพระแต่อย่างใดค่ะ แต่ด้วยธรรมเนียมการปฏิบัติตนต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้นคนส่วนใหญ่จะคำนึงถึงเรื่องภาพลักษณ์ที่ดีของทั้งพระและโยมดังนั้นการที่ผู้หญิงควรที่จะระมัดระวังตัวไม่ให้ไปสัมผัสกับพระสงฆ์นั้นก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังอยู่เสมอเพราะจะทำให้ถูกมองไม่ดีได้ค่ะ ทําไมผู้หญิงห้ามโดนตัวพระข้อปฏิบัติตนที่ผู้หญิงควรรู้ โพธิสัตว์ชาวพุทธ ห้ามผู้หญิงโดนตัวพระ หญิง ผู้หญิง ภาพลักษณ์ดี

     สำหรับพระอภิธรรมปิฎกนั้นแบ่งออกเป็นเจ็ดคัมภีร์ซึ่งเรียกย่อว่าสํวิธาปุกยและปตามลำดับประกอบไปด้วย๑สังคณีหรือธัมมสังคณีเรียกโดยย่อว่าสํ"รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท๒วิภังค์เรียกโดยย่อว่าวิยกหมวดธรรมขึ้นตั้งเป็นหัวข้อเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด๓ธาตุกถาเรียกโดยย่อว่าธาสังเคราะห์หรือจัดประเภทข้อธรรมต่างๆเข้าเป็นหมวดเป็นหมู่ดังต่อไปนี้คือขันธ์อายตนะและธาตุ๔ปุคคลบัญญัติเรียกโดยย่อว่าปุบัญญัติความหมายบุคคลประเภทต่างๆตามคุณธรรมที่มีอยู่๕กถาวัตถุเรียกโดยย่อว่ากแถลงและวินิจฉัยทัศนะที่ขัดแย้งกันของนิกายต่างๆในสมัยสังคายนาครั้งที่๓โดยเน้นความถูกต้องของฝ่ายเถรวาทคัมภีร์นี้เป็นบทนิพนธ์ของพระโมคคลีบุตรติสสเถระ๖ยมกะเรียกโดยย่อว่ายยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบโดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ๗ปัฏฐานหรือมหาปกรณ์เรียกโดยย่อว่าปอธิบายปัจจัย๒๔และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมทั้งหลายอย่างละเอียดพระอภิธรรมปิฎกพระอภิธรรมปิฎกพระอภิธรรมปิฎกพระอภิธรรมปิฎกเจ็ดคัมภีร์

     สีมาหมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์เป็นเขตชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะซึ่งพระสงฆ์กำหนดว่าผู้อยู่ในเขตนั้นจะต้องร่วมกันทำสังฆกรรมโดยความพร้อมเพรียงกันพัทธสีมาหมายถึงสีมาหรือเขตแดนที่พระสงฆ์ผูกไว้แล้วคือพระสงฆ์ร่วมกันกำหนดให้เป็นเขตทำสังฆกรรมตามพระวินัยเรียกพิธีกรรมที่กำหนดอย่างนั้นว่าผูกสีมาโดยทั่วไปเรียกพัทธสีมาว่าโบสถ์หรืออุโบสถเขตหรือแดนที่จะผูกเป็นพัทธสีมานั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อนเพราะต้องเป็นเขตแยกต่างหากจากเขตแดนบ้านซึ่งเรียกว่าวิสุงคามสีมาพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘พัทธสีมาพัทธสีมาพัทธสีมาพัทธสีมาโบสถ์อุโบสถ

     สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มากคือ๑ทำคนให้ฉลาดเพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดีละเอียดรอบคอบขึ้นมาก๒ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม๓ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกันกรุณาเอ็นดูสงสารกันพลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี๔ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกันเว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน๕ทำคนให้รู้จักตัวเองและรู้จักปกครองตัวเอง๖ทำคนให้ว่านอนสอนง่ายไม่มานะถือตัวไม่เย่อหยิ่งจองหอง๗ทำคนให้หันหน้าเข้าหากันเพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง๘ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา๙ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐเพราะเหตุว่าการปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้คือ๑เพื่อละนิวรณ์๒เพื่อละกามคุณ๓เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด๔เพื่อละอุปาทานขันธ์๕เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำคือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามฉันทะพยาบาท๖เพื่อละคติ๔คือนรกภูมิเปตติวิสัยภูมิอสุรกายภูมิและดิรัจฉานภูมิเมื่อได้ญาณ๑๖ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติอย่างพระโสดาบันเกิดไม่เกิน๗ชาติเป็นอย่างมากส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่๑ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ๔ได้อีกในชาติต่อๆไปดังนั้นสมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละอบายภูมิ๔ได้โดยเด็ดขาด๗เพื่อละความตระหนี่๕คือตระหนี่ที่อยู่ตระหนี่ตระกูลตระหนี่ลาภตระหนี่วรรณะตระหนี่ธรรม๘เพื่อละสังโยชน์เบื้องบนคือรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา๙เพื่อละตะปูตรึงใจ๕คือสงสัยในพระพุทธสงสัยในพระธรรมสงสัยในพระสงฆ์สงสัยในสิกขาความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์๑๐เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ๕คือไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกามในรูปความสุขในการกินการนอนการรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย๑๑เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ(ทุกข์ทั้งหลาย)ดับทุกข์โทมนัสเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน๑๒อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามีสกทาคามีโสดาบันอย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ๑๓ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา๑๔ชื่อว่าเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า๑๕ชื่อว่าเป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา๓คือศีลสมาธิปัญญา๑๖ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทเพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอความไม่ประมาทนั้นคืออยู่อย่างมีสตินั่นเอง๑๗​ชื่อว่าได้เป็นผู้ทรงธรรม๑๘ชื่อว่าได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง๑๙ชื่อว่าได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ทางสายกลาง๒๐ชื่อว่าได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงคือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติคืออธิศีลอธิจิตอธิปัญญาได้แก่ศีลสมาธิปัญญาที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ภังคญาณเป็นต้นไปจนถึงมรรคญาณผลญาณและปัจจเวกขณญาณ วิปัสสนากรรมฐาน ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

     สวนไผ่ค่ะ วัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเวฬุวันมหาวิหาร

     สังสารหรือสงสารแปลว่าความท่องเที่ยวไปในทางพุทธศาสนาหมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้หมายถึงความรู้สึกหวั่นไหวด้วยความกรุณาเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับความทุกข์หรอกนะคะดังนั้นสังสารวัฏแปลว่าความท่องเที่ยวไปในอาการที่เป็นวัฏฏะการหมุนวนอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิดเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัฏสงสารสงสารวัฏหมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆของสัตว์โลกด้วยอำนาจกิเลสกรรมวิบากหมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลสกรรมวิบากไม่ได้วัฏสงสาร วัฏสงสาร วัฏสงสาร เวียนว่ายตายเกิด

     สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ณสถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด๓เดือนแก่พระสงฆ์นั้นมีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝนเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาจำพรรษาตลอด๓เดือนนั้นเป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย วันเข้าพรรษา สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษา วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษา ป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบ

     สกทาคามีหรือสกิทาคามีแปลว่าผู้กลับมาเพียงครั้งเดียวค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดวัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘อริยบุคคล สกทาคามี สกทาคามี สกทาคามี กลับมาครั้งเดียว

     สกทาคามีเป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่๒ใน๔ประเภทค่ะที่เรียกว่าผู้กลับมาเพียงครั้งเดียวหมายถึงพระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพานผู้ได้บรรลุสกทาคามิผลคือผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ๓ประการแรกได้เช่นเดียวกับพระโสดาบันอีกทั้งทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือกามราคะหมายถึงความพอใจในกามคือการความเพลินในการได้เสพรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสธรรมารมณ์ที่น่าพอใจปฏิฆะหมายถึงความกระทบกระทั่งในใจคล้ายความพยาบาทอย่างละเอียดหากสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามีค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดวัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘อริยบุคคล สกทาคามี สกทาคามี สกทาคามี กลับมาครั้งเดียว

     สติมีใช้ในอีกหลายความหมายเช่นกำหนดรู้ตระหนักรู้ระลึกรู้สัมผัสรู้รู้สึกตัวและอื่นๆที่ใช้ในความหมายการทำความกำหนดรู้สึกตัวในปัจจุบันต่อผัสสะใดๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้กำหนดรู้เฉพาะหน้าให้เท่าทันต่อสัมผัสตามความเป็นจริงต่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาให้จิตเป็นอิสระต่อสิ่งที่มากระทบในฐานะเป็นเพื่อผู้เฝ้ารู้เฉยด้วยการเพิ่มการรับรู้ทางประสาทสัมผัสโดยลดการคิดนึกปรุงแต่งความรู้สึกอื่นๆ สติ สติ สติ สติ เห็นความจริง

     สติหมายถึงอาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืมระงับยับยั้งใจได้ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่ามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความไม่ประมาท สติ สติ สติ สติ ไม่หลงพลั้งเผลอ

     สติเป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ต้องทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆเช่นการเจริญวิปัสสนาคือการฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตรทำสมาธิสวดมนต์ภาวนาคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง๖ สติ สติ สติ สติ เห็นความจริง

     สติเป็นธรรมมีอุปการะมากคือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอเป็นเจตสิกชนิดหนึ่งสตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการงานความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆการคิดอ่านย่อมเป็นระบบจิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใดๆอารมณ์มักจะเป็นปกติไม่ค่อยโกรธเครียดหรือทุกข์ใจอะไรมากๆกล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนถ้ารู้เนืองๆมากๆเข้าจนเป็นมหาสติก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วยการที่เรามีสติอยู่เนืองๆรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้างทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการเห็นความจริงความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือกายกับใจจุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริงอันได้แก่อนิจจังทุกขังอนัตตาว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวเรา สติ สติ สติ สติ เห็นความจริง

     สติแปลว่าความระลึกได้ความนึกขึ้นได้ความไม่เผลอฉุกคิดขึ้นได้การคุมจิตไว้ในกิจ สติ สติ สติ สติ ความระลึกได้

     สติแปลว่าความระลึกได้ความนึกขึ้นได้ความไม่เผลอฉุกคิดขึ้นได้การคุมจิตไว้ในกิจ สติ สติ สติ สติ ความระลึกได้

     สติใช้เพื่อที่จะรู้เท่าทันในสังขาร๓๑รู้เท่าทันในการเคลื่อนไหวในอันที่จะการสร้างกรรมใดๆนั่นคือศีล๒รู้เท่าทันในอารมณ์ที่ปรุงแต่งจิตจนจิตเป็นอิสระจากอารมณ์นี่คือสมาธิ๓​รู้เท่าทันความคิดทั้งหลายว่าความคิดเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่นี้คือปัญญา สติ สติ สติ สติ เห็นความจริง



๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ