ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ
เทวทหะปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันออก๒๒กิโลเมตรห่างจากกับแม่น้ำโรหิณีไปทางทิศตะวันออกประมาณ๑๐๐เมตรปรากฏคันคูเมืองกำแพงเมืองโบราณก่อด้วยหินภายในซากเมืองเก่าปรากฏเนินดินโบราณที่ยังไม่ได้ขุดค้นจำนวนมากเช่นรามคามเจดีย์สถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่กรุงเทวทหะได้รับจากโฑณพราหมณ์นักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมากในบริเวณโบราณสถานเมืองเก่าเทวทหะนี้ปัจจุบันมีเทวาลัยฮินดูหลังหนึ่งที่ชาวบ้านสร้างไว้ภายในประดิษฐานมูรติสิริมหามายาประติมากรรมภาพแกะสลักหินทรายที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นรูปของพระนางสิริมหามายาด้วยสภาพของเมืองเก่าเทวทหะในปัจจุบันยังไม่เคยมีนักโบราณคดีสำรวจขุดค้นอย่างจริงจังคงปล่อยให้เป็นเนินดินฝังซากโบราณสถานจำนวนมากไว้ทำให้นักจาริกแสวงบุญส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมมาเมืองเทวทหะนี้เทวทหะ
เมืองเทวทหะในปัจจุบัน
เทวทหะ
ฝังซากโบราณ
เมืองเทวทหะ
เทวโลกคือโลกของเทวดาหมายถึงสวรรค์อันเป็นที่อยู่ของเทวดาเทวโลกจัดเป็นปรโลกคือโลกหน้าแห่งหนึ่งอันเป็นที่เกิดหลังการการตายไปของคนที่ทำบุญกุศลไว้ดีแล้วเช่นที่กล่าวว่าเขาสั่งสมกุศลไว้ดีแล้วครั้นละจากอัตภาพนี้แล้วจักไปบังเกิดในเทวโลกเข้าถึงฐานะอันประเสริฐสุดที่ได้โดยยากเทวโลกหมายถึงสวรรค์ชั้นกามาพจร๖ชั้นคือ๑ชั้นจตุมหาราช๒ชั้นดาวดึงส์๓ชั้นยามา๔ชั้นดุสิต๕ชั้นนิมมานรดี๖ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘เทวโลก
เทวโลก
เทวโลก
โลกของเทวดา
เทวโลก
เทศน์หมายถึงการถ่ายทอดธรรมอันเป็นคำสั่งสอนทางศาสนาด้วยการแสดงชี้แจงให้ฟังเป็นการเผยแผ่ศาสนาแบบหนึ่งที่ใช้กันมาแต่สมัยพุทธกาลการเทศน์ในสมัยพุทธกาลไม่มีพิธีการแต่อย่างใดเพียงผู้แสดงนั่งอยู่ในสถานที่สมควรและผู้ฟังมีลักษณะตั้งใจฟังก็สามารถแสดงได้ในขณะที่การเทศนานั้นอาจมีลักษณะลีลาต่างกันไปบ้างตามแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคลสำหรับพระพุทธเจ้าแล้วบางครั้งจะทรงใช้คาถาประพันธ์หรือร้อยแก้วธรรมดาในประเทศไทยการเทศน์กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมต่างๆของชาวไทยมาช้านานเช่นวันขึ้นบ้านใหม่วันแต่งงานไปจนถึงงานศพและมีข้อปลีกย่อยในการประกอบพิธีกรรมมากมายเช่นต้องมีการอาราธนาศีลอาราธนาธรรมการจุดเทียนส่องธรรมเป็นต้นพระสงฆ์ไทยแต่โบราณก็มีการดัดแปลงโดยเพิ่มทำนองให้น่าสนใจเรียกว่าเทศน์แหล่ปัจจุบันอาจแบ่งการเทศน์พิธีกรรมของพระสงฆ์ในประเทศไทยตามจำนวนผู้เทศน์ได้เป็นเทศเดี่ยว(เทศน์รูปเดียว)และเทศน์สองธรรมมาสน์ขึ้นไป(ปุจฉาวิสัชนา)คำว่าเทศน์หรือการเทศน์แบบพิธีการในความรู้สึกส่วนใหญ่ของคนไทยมักจะเข้าใจว่าเป็นพิธีกรรมการสอนที่เป็นทางการเน้นพิธีการและมีรูปแบบตายตัวที่ผู้เทศน์ไม่สามารถใช้ลูกเล่นหรือใช้อุปกรณ์เช่นภาพหรือสื่อประสมมาใช้เพื่อประกอบการเทศน์ได้ทำให้ในปัจจุบันพระสงฆ์ได้มีปรับเปลี่ยนวิธีการเทศน์ด้วยวิธีอื่นๆเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเช่นการเทศน์ในพิธีการโดยไม่ใช้สำนวนโบราณการสอนธรรมะผ่านสื่อต่างๆการแต่งหนังสือการแต่งเพลงธรรมะเป็นต้นซึ่งการเทศน์ด้วยวิธีหลังจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากกว่าเพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ทำนองแบบเทศน์พิธีการและอาจมีมุกสอดแทรกลงไปทำให้น่าสนใจมากขึ้นเทศน์
การเทศน์
เทศน์
ถ่ายทอดธรรม
เทศน์
เทศน์แปลว่าการแสดงการชี้แจงการชี้ให้เห็นแจ้งใช้ว่าเทศนาอ่านว่าเทสะนาหรือจะเทดสะหนาก็ได้เทศน์
ความหมายของคำว่าเทศน์
เทศน์
การชี้แจง
เทศน์
เทศน์ธรรมวัตรคือเทศน์โดยในเสียงและทำนองเป็นปกติเหมือนอ่านหรือพูดธรรมดาไม่ได้ออกเสียงและทำนองไพเราะด้วยการขับขานมุ่งให้เข้าใจในเนื้อหาธรรมะเพื่อให้นำไปปฏิบัติได้เป็นสำคัญเรียกว่าเทศน์ทำนองธรรมวัตรก็ได้
เทศน์ธรรมวัตร
เทศน์ธรรมวัตร
พูดธรรมดา
เทศน์ธรรมวัตร
เทศน์แจงคือการเทศน์เรื่องการทำสังคายนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนาเนื้อหาของการเทศน์แจงคือขยายความข้อธรรมและข้อวินัยในพระธรรมปิฎกโดยย่อพอให้เป็นกริยาบุญนิยมเทศน์ในงานศพของผู้ใหญ่โดยถือว่าการเทศน์แจงเป็นบุญใหญ่เป็นการรักษาพระธรรมวินัยไว้เป็นการเลียนแบบการทำสังคายนาครั้งแรกซึ่งมีผลทำให้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้เทศน์แจงนิยมเทศน์๓ธรรมาสน์คือใช้พระ๓รูปเทศน์ถามตอบกันและมีพระอันดับแจงหรือพระแจงอีกส่วนหนึ่งจำนวนอาจถึง๕๐๐รูปก็ได้ถ้ามีพระนั่งแจง๕๐๐รูปเรียกกันว่าแจง๕๐๐ในปัจจุบันแจง๕๐๐มีทำกันน้อยแล้วด้วยว่าผู้ทำได้จะต้องมีศรัทธาและกำลังมากเป็นพิเศษพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘เถยจิตเทศน์แจงเทศน์แจงขยายความข้อธรรมข้อวินัยในพระธรรมปิฎกโดยย่อ
เทศน์แจง
เทศน์แหล่คือเทศน์โดยใช้เสียงและทำนองที่มุ่งความไพเราะเป็นสำคัญเช่นเทศน์มหาชาติเทศน์แหล่ซึ่งมีทั้งแหล่ในคือเรื่องในมหาชาติและแหล่นอกคือเรื่องอื่นๆที่นำมาเสริมโดยมุ่งความสุนทรีย์เช่นแหล่ชมนกแหล่ชมดงแหล่หญิงม่าย
เทศน์แหล่
เทศน์แหล่
มุ่งไพเราะ
เทศน์แหล่
เทโวเรียกกร่อนมาจากคำว่าเทโวโรหณะหรือเทวบวกโอโรหณซึ่งแปลว่าการเสด็จลงจากเทวโลก
ความหมายของคำว่าเทโว
เทโว
เทโวโรหณะ
ลงจากเทวโลก
เทโวโรหณะเป็นเหตุการณ์ตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้าคือในพรรษาที่๗ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนเทวโลกคือบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาครั้นออกพรรษาแล้วก็เสด็จลงจากเทวโลกในวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๑ตำนานเล่าว่าพระอินทร์ทรงนิมิตบันได๓อย่างถวายคือบันไดทองบันไดแก้วมณีบันไดเงินหัวบันไดพาดอยู่ที่ยอดเขาสิเนรุเชิงบันไดอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสะนครเวลาเสด็จลงทรงใช้บันไดแก้วมณีเหล่าเทวดาลงทางบันไดทองเหล่ามหาพรหมลงทางบันไดเงินเรียกการเสด็จครั้งนั้นว่าเทโวโรหณะเทโวโรหณะทำให้เกิดประเพณีทำบุญตักบาตรที่เรียกวาตักบาตรเทโวขึ้นและปฏิบัติตามกันมาจนทุกวันนี้
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘
เทโวโรหณะ
เทโวโรหณะ
เทโวโรหณะ
เทโว
เสด็จลงจากเทวโลก
แจงแปลว่าขยายความกระจายความใช้เรียกการเทศน์สังคายนาหรือเทศน์สอบทานพระธรรมวินัยว่าเทศน์แจงพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘เถยจิต
เทศน์แจง
เทศน์แจง
ขยายความ
เทศน์แจง
โทสะกำจัดได้โดยเมตตาคือการมีความรักปรารถนาดีต่อกัน
คนจะกำจัดโทสะได้อย่างไร
โทสะ
กำจัดได้โดยเมตตา
โทสะ
โทสะแปลว่าความโกรธความขัดเคืองความไม่พอใจโทสะความหมายของโทสะโทสะความโกรธความขัดเคือง
โทสะ
ไทยทานไทยธรรมอ่านว่าไทยะหมายถึงของสำหรับทำทานหรือของทำบุญหรือของถวายพระ๒คำนี้มักใช้แทนกันในที่ทั่วไปพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ไทยทานไทยธรรมไทยธรรม
ของสำหรับทำทาน
ไทยธรรม
๑ทันต่อกิเลสหมายถึงรู้เท่าทันกิเลสภายในตัวของเรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตอะไรคือสิ่งฟุ่มเฟือยสิ่งไร้สาระไม่เกิดประโยชน์เพราะการที่เราทันต่อกิเลสนั้นเราจะรู้จักยับยั้งไม่ให้หลงไปกระทำในสิ่งที่ไม่ดี๒ทันคนหมายถึงรู้เท่าทันคนที่เราต้องติดต่อคบค้าสมาคมเพื่อรู้เท่าทันความคิดของเขาว่าจะส่งผลดีหรือไม่ดีต่อตัวของเราหรือหน้าที่การงานของเราอย่างไร๓ทันโลกหมายถึงรู้เท่าทันโลกรู้ว่าโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเพื่อที่เราจะสามารถปรับตัวได้ทัน๔ทันธรรมชาติหมายถึงรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละฤดูกาลทั้งนี้เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและวางแผนการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในแต่ละฤดูกาลด้วยทมะ
ทมะแบ่งออกได้เป็นอะไรบ้าง
ทมะ
ทมะ
ทัน
๑ทาน(ทานํ)คือการให้๒ศีล(สีลํ)คือความประพฤติที่ดีงามทั้งกายวาจาและใจ๓บริจาค(ปริจาคํ)คือการเสียสละความสุขสวนตนเพื่อความสุขส่วนรวม๔ความซื่อตรง(อาชฺชวํ)คือความซื่อตรง๕ความอ่อนโยน(มทฺทวํ)คือการมีอัธยาศัยอ่อนโยน๖ความเพียร(ตปํ)คือความเพียร๗ความไม่โกรธ(อกฺโกธํ)คือความไม่แสดงความโกรธ๘ความไม่เบียดเบียน(อวิหิงสา)คือการไม่เบียดเบียน๙ความอดทน(ขนฺติ)คือการมีความอดทนต่อสิ่งทั้งปวง๑๐ความเที่ยงธรรม(อวิโรธนํ)คือความหนักแน่นถือความถูกต้องเที่ยงธรรมเป็นหลักทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม
คุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง
"ภิกษุทั้งหลายทุกขอริยสัจคือความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์เป็นอย่างนี้คือการเข้าใจว่าเกิดแก่เจ็บตายล้วนแต่เป็นทุกข์แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจความร่ำไรรำพันความทุกข์กายทุกข์ใจทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ว่าโดยย่อการยึดมั่นแบบฝังใจว่าเบญจขันธ์(คือรูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ)ว่าเป็นอัตตาเป็นตัวเราเป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริงภิกษุทั้งหลายเหตุทำให้เกิดความทุกข์(สมุทัย)มีอย่างนี้คือความอยากเกินควรที่เรียกว่าทะยานอยากทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดเป็นไปด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลินมัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆได้แก่ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็๋นเช่นไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติไร้ยศเป็นต้นอยากจะดับสูญไปเลยถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ภิกษุทั้งหลายนิโรธคือความดับทุกข์อย่างแท้จริงคือดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิงมิให้ตัณหาเหลือยู่สละตัณหาปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหาไม่มีเยื่อใยในตัณหาภิกษุทั้งหลายทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริงคืออริยมรรคมีองค์๘ได้แก่(๑)ความเห็นชอบ(๒)ความดำริชอบ(๓)วาจาชอบ(๔)การงานชอบ(๕)เลี้ยงชีวิตชอบ(๖)ความเพียรชอบ(๗)ความระลึกชอบ(๘)ความตั้งจิตมั่นชอบ"กล่าวโดยสรุปธัมมจักกัปปวัตนสูตรแสดงถึงส่วนที่สุดสองอย่างที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยคคือการหมกมุ่นอยู่ในกามศกและอัตตกิลมถานุโยคคือการทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์มัชฌิมาปฏิปทาคือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ได้แก่มรรคมีองค์แปดและอริยสัจสี่คือธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการ
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐ
จงพยายามรักษาธุดงค์ไว้ให้มั่นคงต่อไปอย่าให้เสื่อมร่วงโรยไปเสียธุดงควัตรเสื่อมเท่ากับศาสนาเสื่อมแม้คัมภีร์ธรรมทั้งหลายยังมีอยู่ก็ไม่อาจทรงคุณค่าแก่ผู้สนใจเท่าที่ควรธุดงควัตรเป็นธรรมขั้นสูงมากผู้รักษาธุดงค์ได้ต้องเป็นผู้มีจิตใจสูงท่านควรทราบว่าพระอริยเจ้าทุกประเภทไปจากธุดงควัตรนี้ทั้งนั้นเพราะธุดงค์เป็นธรรมเครื่องทำลายกิเลสได้ทุกประเภทธุดงควัตรจึงเป็นทางเดินเพื่ออริยธรรมอริยบุคคลคนไม่มีธุดงควัตรคือคนวัตรร้างเช่นเดียวกับบ้านร้างเมืองร้างอะไรก็ตามถ้าลงได้ร้างแล้วไม่เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาเลย
เรียบเรียงโดยเธียรนันท์จากหนังสือวินาทีบรรลุธรรมอรหันต์มีจริง๑
ธุดงควัตร
ธุดงค์
ธุดงควัตร
ธรรมขั้นสูง๑
ท่านจงรักษาธุดงควัตรอันเป็นเครื่องทำลายกิเลสไว้ให้ดีและมั่นคงอย่าให้เป็นพระวัตรร้างเพราะจะเป็นทางรั่วไหลแตกซึมแห่งมรรคผลนิพพานที่ควรจะได้จะถึงพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายบรรดาที่เลิศแล้วล้วนแต่รักษาธุดงควัตรกันทั้งนั้นใครประมาทธุดงค์ว่าไม่สำคัญผู้นั้นคือผู้หมดสาระสำคัญในตัวเองท่านจงรักษาความสำคัญของตนไว้ด้วยธุดงควัตรผู้ที่มีธุดงควัตรเป็นผู้มีอำนาจทั้งภายนอกภายในอย่างลึกลับจับใจที่บอกใครไม่ได้เป็นผู้เด่นในวงทวยเทพชาวไตรภพทั้งหลายมนุษย์และเทวดาทุกชั้นภูมิเคารพรักผู้มีธุดงควัตรประจำตัวอยู่และไปที่ไหนไม่เป็นภัยแก่ตัวเองและผู้อื่นมีแต่ความเย็นฉ่ำภายในทั้งกลางวันและกลางคืน
เรียบเรียงโดยเธียรนันท์จากหนังสือวินาทีบรรลุธรรมอรหันต์มีจริง๑
ธุดงควัตร
ธุดงค์
ธุดงควัตร
ธรรมขั้นสูง๒
ธุดงควัตรเป็นธรรมลึกลับยากที่จะมองเห็นความสำคัญทั้งที่ธุดงควัตรเป็นธรรมสำคัญในศาสนามาดั้งเดิมธุดงควัตรเป็นหลักใหญ่แห่งพระศาสนาผู้ที่มีธุดงค์ประจำตัวคือผู้รู้ความสำคัญของตัวและรักษาถูกจุดแห่งความสำคัญได้ดีเป็นที่น่าชมเชยอย่างถึงใจผู้ที่มีธุดงควัตรดีเป็นผู้มีจิตใจเมตตาอ่อนโยนในสัตว์ทั้งหลายถ้ายังมีผู้ปฏิบัติธุดงควัตรอยู่ตราบใดศาสนาก็ยังทรงออกทรงผลอยู่ตราบนั้นเพราะธุดงค์เป็นทางที่ไหลมาแห่งมรรคและผลทุกชั้นไม่มีสถานที่กาลเวลาหรือสิ่งใดๆมาเป็นอุปสรรคกีดขวางทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพานได้ถ้าธุดงควัตรยังเป็นไปอยู่กับผู้ปฏิบัติทั้งหลายท่านจงจดจำให้ถึงจิตคิดไตร่ตรองให้ถึงธรรมถือธุดงควัตรดังกล่าวมาอยู่ที่ใดไปที่ใดจะชุ่มเย็นอยู่กับตัวท่านเองธุดงควัตรนี่แลคือบ่อเกิดแห่งธรรมทั้งหลายดังนี้พระพากุลเถระท่านมาโปรดเมตตาหลวงปู่ชอบท่านแหละค่ะ
เรียบเรียงโดยเธียรนันท์จากหนังสือวินาทีบรรลุธรรมอรหันต์มีจริง๑
ธุดงควัตร
ธุดงค์
ธุดงควัตร
ธรรมขั้นสูง๓
ธุดงค์เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้แต่ไม่มีการบังคับแล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติเป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลสทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้นไม่สะสมเพื่อให้เบาสบายไปมาได้สะดวกด้วยไม่มีภาระมากเหมือนนกที่มีเพียงปีกก็บินไปมิใช่เพื่อสะสมหรือเพื่อลาภสักการะและชื่อเสียงถ้าทำเพื่อลาภเพื่อชื่อเสียงต้องอาบัติทุกกฎปัจจุบันคำว่าธุดงค์ในประเทศไทยถูกใช้ในความหมายว่าเป็นการเดินจาริกของพระสงฆ์ไปยังที่ต่างๆหรือเรียกว่าการเดินธุดงค์ซึ่งความหมายนี้แตกต่างจากความหมายเดิมในพระไตรปิฎก๑แต่ก็น่าจะใช้ได้ไม่ผิดอะไรเพราะการที่พระออกเดินทางย่อมขนสัมภาระไปได้เท่าที่จำเป็นการขนเยอะย่อมเป็นภาระหนักแก่พระที่ออกเดินทางอันเป็นหัวใจของธุดงค์คือการมีและใช้สอยปัจจัยบริโภคเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ธุดงค์คือวัตรหรือแนวทางการปฏิบัติจำนวน๑๓ข้อที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ให้แก่พระสงฆ์สำหรับเลือกนำไปปฏิบัติเพื่อมุ่งให้เป็นแนวปฏิบัติเพิ่มเติมของพระสงฆ์ที่ตั้งใจสมาทานความเพียรเพื่อมุ่งขัดเกลาทางจิตเพื่อกำจัดกิเลสโดยธุดงค์นี้เป็นเพียงวัตรหรือแนวทางการประพฤติที่ไม่ใช่ศีลของพระสงฆ์พระสงฆ์จึงเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจและการปฏิบัติธุดงค์ไม่ได้จำกัดเฉพาะพระสงฆ์เท่านั้นธุดงค์ในภาษาไทยใช้เรียกพระภิกษุแบกกลดเดินไปตามทางหรือเข้าป่าไปว่าเดินธุดงค์หรือออกธุดงค์เรียกภิกษุที่ปฏิบัติเช่นนั้นว่าพระธุดงค์ธุดงค์ในภาษาไทยนี้จึงมีความหมายเฉพาะตัวตามประเพณีของพระวัดป่าของประเทศไทยซึ่งต่างจากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นอย่างมากเพราะธุดงค์ตามคัมภีร์นั้นผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องเดินเที่ยวไปทั่ว,ไม่จำเป็นต้องอยู่ป่า,ไม่มีการใช้กลด,ไม่รับเงินเด็ดขาดเป็นต้นและการปฏิบัติที่ว่าด้วยการออกเดินทางนั้นเป็นข้อวัตรปฏิบัติพิเศษที่ชื่อว่าโมเนยยปฏิบัติคือการอย่าเที่ยวภิกขาจารในที่เดิมซ้ำอย่านอนในที่เดิมซ้ำเพื่อไม่ตัดสินว่าใครดีชั่วเพื่อไม่พิจารณาว่าสิ่งใดที่ไหนหยาบปราณีต
ธุดงค์
ธุดงค์
ธุดงค์
ธุดงค์
แนวทางการปฏิบัติ
ธรรมจักร☸หรือวงล้อแห่งความจริงสัญลักษณ์แทนพุทธศาสนาอันได้เริ่มหมุนแล้วตั้งแต่วันที่พระองค์ได้แสดงปฐมเทศนาให้กับปัญจวัคคีย์ทั้ง๕เทียบได้กับการที่ราชาออกเกวียนรบเพื่อแผ่ขยายอำนาจหรืออาณาจักร
ธรรมจักร
กงล้อแห่งความจริง~
☸ธรรมจักรวงล้อแห่งความจริง
ธรรมจักร
ธรรมจักร
ความจริง
คือการสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ป่าเป็นวัตรค่ะ
เรียบเรียงโดยเธียรนันท์จากหนังสือวินาทีบรรลุธรรมอรหันต์มีจริง๑
พระพากุลเถระ
พระพากุลเถระ
พระพากุล
ป่าเป็นวัตร
คือการสมาทานธุดงค์ด้วยการอยู่ในอิริยาบท๓คือยืนเดินและนั่งเท่านั้นไม่มีนอนค่ะ
เรียบเรียงโดยเธียรนันท์จากหนังสือวินาทีบรรลุธรรมอรหันต์มีจริง๑
พระพากุลเถระ
พระพากุลเถระ
พระพากุล
อิริยาบท๓
๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป
ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ