ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ
ปัญญาสชาดกเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้นแล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปีพศ๒๐๐๐ถึง๒๒๐๐โดยเขียนไว้ด้วยภาษาบาลีมีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรองทั้งสิ้น๕๐ชาดกโครงสร้างของปัญญาสชาดกมีลักษณะเลียนแบบนิบาตชาดกหรืออรรถกถาชาดกที่พระสงฆ์ชาวลังกาประพันธ์ไว้อันประกอบด้วยปัจจุบันวัตถุอดีตนิทานบทคาถาภาษิตและสโมธานหรือประชุมชาดกปัญญาสชาดกปัญญาสชาดก
ปัฏนาเป็นเมืองหลวงของรัฐพิหารรัฐหนึ่งในประเทศอินเดียเป็นเมืองเก่าแก่ที่ยังมีผู้อาศัยอยู่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดแห่งหนึ่งของโลกโดยเมื่อ๒,๕๐๐ปีก่อนในสมัยพุทธกาลเมืองแห่งนี้เป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆในแคว้นมคธที่ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรูเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านสำหรับการเตรียมทำสงครามกับแคว้นวัชชีหลังจากพุทธกาลเมืองนี้มีความสำคัญเพราะได้กลายเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและมีพระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งพระจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียคือพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งราชวงศ์เมารยะผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองทรงอุปถัมภ์การทำตติยสังคายนาณอโศการามโดยให้เมืองปัฏนาหรือปาตลีบุตรตามที่เรียกกันในสมัยนั้นเป็นศูนย์กลางในการส่งสมณทูตออกเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนอื่นๆทั่วโลกซึ่งรวมถึงสุวรรณภูมิหรือดินแดนที่ตั้งประเทศไทยในปัจจุบันด้วยปัจจุบันเมืองแห่งนี้ยังคงเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของรัฐพิหารหรือแคว้นมคธในสมัยโบราณมีพื้นที่เมืองประมาณ๒๕ตารางกิโลเมตรและมีประชากรมากกว่า๑ล้าน๘แสนคนโดยประมาณปัฏนาปัฏนา
ปัณรสีคือวัน๑๕ค่ำใช้เรียกทั้งข้างขึ้นและข้างแรมเรียกเต็มว่าปัณรสีดิถีปกติใช้ในการประกาศองค์อุโบสถในวันพระซึ่งหัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาจะประกาศก่อนที่จะรับศีลอุโบสถจากพระว่าขอประกาศเริ่มเรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถอันพร้อมไปด้วยองค์แปดประการให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั่วกันก่อนแต่สมาทานณบัดนี้ด้วยวันนี้เป็นปัณรสีดิถีที่สิบห้าแห่งกาฬปักษ์มาถึงแล้วก็แหละวันเช่นนี้เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ให้ประชุมกันฟังธรรมและเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายนอกจากนี้คำว่าคืนวันปัณรสียังสามารถใช้ได้กับวันออกพรรษาได้อีกด้วยถ้าเป็นวัน๘ค่ำใช้ว่าวันอัฐมีวัน๑๔ค่ำใช้ว่าวันจาตุทสีค่ะวันปัณรสีวันปัณรสี
ปัณรสีแปลว่าดิถีเป็นที่เต็ม๑๕วันวันปัณรสีวันปัณรสี
ปัพพาชนียกรรมอ่านว่าปับพาชะนียะกำใช้ว่าบัพพาชนียกรรมก็ได้ค่ะคือการลงโทษพระภิกษุที่กระทำผิดโดยการขับออกจากคณะสงฆ์พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปัพพาชนียกรรมปัพพาชนียกรรมแปลว่าอะไร
ปาฏิโมกขสังวรศีลหมายถึงศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์เว้นจากข้อห้ามและทำตามข้ออนุญาตตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบทคือศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเองปาฏิโมกขสังวรศีล
ปาติโมกข์หมายถึงคัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์๒๒๗ข้อคัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณาค่ะปาติโมกข์ปาติโมกข์
ปาพจน์หมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่คือพระธรรมวินัยซึ่งถือว่าเป็นศาสดาแทนองค์พระพุทธเจ้าพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘ปาพจน์ปาพจน์คืออะไร
ปาพจน์แปลว่าคำเป็นประธานหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่คือพระธรรมวินัยซึ่งถือว่าเป็นศาสดาแทนองค์พระพุทธเจ้าพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘ปาพจน์ปาพจน์แปลว่าอะไร
ปาราชิกคือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภทครุกาบัติที่เรียกว่าอาบัติปาราชิกพระภิกษุต้องอาบัติปาราชิกข้อใดข้อหนึ่งแม้จะไม่กล่าวลาสิกขาบทก็ถือว่าขาดจากความเป็นพระภิกษุทันทีเมื่อความผิดสำเร็จปาราชิกปาราชิก
ปาราชิกมี๔ข้ออยู่ในศีล๒๒๗ได้แก่เสพเมถุนแม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมียถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตนจากบ้านก็ดีจากป่าก็ดีพรากกายมนุษย์จากชีวิตหรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมอันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐอย่างสามารถน้อมเข้าในตัวว่าข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ปาราชิกปาราชิกมีอะไรบ้าง
ปาวาคือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาลเคยเป็นเมืองหลวง๑ใน๒เมืองหลวงของเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งแควันมัลละ๑ใน๑๖มหาชนบทในสมัยพุทธกาลปาวาตามที่ปรากฏเรื่องราวในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนานั้นเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จผ่านเมื่อคราวเสด็จจากเมืองเวสาลีไปยังกุสินาราเพื่อเสด็จดับขันธปรินิพพานโดยพระพุทธเจ้าได้แวะพักที่ป่ามะม่วงของนายจุนทะเพื่อฉลองศรัทธาเสวยอาหารมื้อสุดท้ายของพระองค์ที่นายจุนทะกัมมารบุตรซึ่งแปลว่านายจุนทะบุตรของนายช่างทองจัดถวายปาวาปาวา
ปุคคลัญญุตาหรือปุคคลปโรปรัญญุตาเป็นผู้รู้จักบุคคลคือความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัยความสามารถและคุณธรรมเป็นต้นใครๆยิ่งหรือหย่อนอย่างไรและรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆด้วยดีว่าควรจะคบหรือไม่จะใช้จะตำหนิยกย่องและแนะนำสั่งสอนอย่างไรเป็นต้น"ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน๒คือบุคคล๒จำพวกคือพวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะพวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะบุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะพึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี๒จำพวกคือพวกหนึ่งต้องการจะฟังสัทธรรมพวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรมบุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรมพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมพึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี๒จำพวกคือพวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรมพวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรมบุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรมพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมพึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี๒จำพวกคือพวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี๒จำพวกคือพวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี๒จำพวกคือพวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมพวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมพึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมก็มี๒จำพวกคือพวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นพวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่นบุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆบุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ"ธัมมัญญูสูตรพระไตรปิฎกเล่มที่๒๓สัปปุริสธรรมปุคคลปโรปรัญญู
ปุจฉาวิสัชนาแปลว่าถามตอบกันหมายถึงการถามและตอบกันไปมาเป็นการหาความรู้ความเข้าใจจากอีกฝ่ายหนึ่งปุจฉาวิสัชนาจึงเป็นคำเรียกการเทศน์ที่มีการถามตอบกันเช่นนั้นว่าเทศน์ปุจฉาวิสัชนาคือพระรูปหนึ่งเป็นผู้ถามอีกรูปหนึ่งเป็นผู้ตอบโดยถามกันในเรื่องธรรมบ้างเรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังบ้างพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘ปุจฉาวิสัชนาปุจฉาวิสัชนาแปลว่า
ปุจฉาวิสัชนาเป็นวิธีสอนอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้าโดยทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์หรือผู้เข้าเฝ้าถามปัญหาได้และพระองค์ทรงตอบเองเป็นทางเกิดปัญญาอย่างหนึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนาได้ซักไซ้ไล่เลียงถามจนกระทั่งได้คำตอบที่พอใจเป็นวิธีการให้ความรู้ตรงแก่ผู้สงสัยในเรื่องนั้นๆและเป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองในการเรียนการสอนหรือการสนทนาพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘ปุจฉาวิสัชนาปุจฉาวิสัชนาแปลว่า
ผู้อื่นเนรมิตค่ะสวรรค์ปรนิมมิตวสวัตดีปรนิมมิตวสวัตดีผู้อื่นเนรมิต
พระปริตรในพระไตรปิฎกมงคลสูตรรตนสูตรกรณียเมตตสูตรฉัททันตปริตร,ขันธปริตรโมรปริตรวัฏฏกปริตรธชัคคปริตรอาฏานาฏิยปริตรองคุลิมาลปริตรโพชฌังคปริตรอภยปริตรชยปริตรพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ปริตรพระปริตรในพระไตรปิฎก
พระพุทธองค์มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งคือไม่มีภิกษุจำปาติโมกข์ได้จนจบเกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้งสิบค่ะปาติโมกข์ปาติโมกข์ปาติโมกข์ปาติโมกข์อันตรายทั้งสิบ
พระพุทธเจ้าได้เสด็จผ่านเมืองแห่งนี้เพื่อไปยังสาลวโนทยานเมืองกุสินาราโดยได้แวะพักที่ป่ามะม่วงของนายจุนทะและรับฉลองศรัทธาด้วยสุกรมัทวะตามรับสั่งของพระองค์เป็นพระกระยาหารมื้อสุดท้ายหลังจากพระองค์เสร็จภัตตกิจพระองค์ได้ประชวรลงปักขันธิกาพาธอย่างหนักทรงสั่งให้นายจุนทะนำสุกรมัทวะไปฝังไว้ณบ่อน้ำซึ่งบ่อนี้ยังปรากฏมาจนปัจจุบันหลังจากอนุโมทนาทานแล้วได้เสด็จไปยังเมืองกุสินาราโดยแวะที่กกุธารนทีระหว่างทางหลังพุทธปรินิพพานเมืองปาวาได้รับส่วนแบ่ง๑ใน๘ส่วนแห่งพระบรมสารีริกธาตุจากโทณพราหมณ์ด้วยโดยปรากฏสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่จนปัจจุบันนี้แต่พระบรมสารีริกธาตุได้ถูกพระเจ้าอโศกอัญเชิญไปประดิษฐานในที่อื่นแล้วปัจจุบันนอกจากสถูปพระบรมสารีริกธาตุแล้วยังมีจุนทะสถูปสถานที่เสยพระกระยาหารครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์ด้วยโดยใกล้ๆกับสถูปมีบ่อน้ำโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบ่อเดียวกันกับบ่อที่ฝังพระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้าปาวาความสำคัญของเมืองปาวา
พระราชาเสด็จมาโจรมาปล้นไฟไหม้น้ำหลากมาคนมามากผีเข้าภิกษุสัตว์ร้ายเข้ามางูร้ายเลื้อยเข้ามาภิกษุอาพาธหนักจะถึงเสียชีวิตสุดท้ายมีอันตรายแก่พรหมจรรย์ค่ะปาติโมกข์ปาติโมกข์
มีทั้งหมด๕รูปได้แก่โกณฑัญญะวัปปะภัททิยะมหานามะและอัสสชิพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘ปัญจวัคคีย์ปัญจวัคคีย์ปัญจวัคคีย์ปัญจวัคคีย์มี๕รูป
วิสัชนาอิ๊กคิวซัง
อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกันการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นเช่นทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย๑๒เรื่องเกิดขึ้นสืบๆเนื่องกันมาตามลำดับดังนี้คือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสังขารจึงมีเพราะสังขารเป็นปัจจัยวิญญาณจึงมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยนามรูปจึงมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัยสฬายตนะจึงมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยผัสสะจึงมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัยตัณหาจึงมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัยอุปทานจึงมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัยภพจึงมีเพราะภพเป็นปัจจัยชาติจึงมีเพราะชาติเป็นปัจจัยชรามรณะจึงมีความโศกความคร่ำครวญทุกข์โทมนัสและความคับแค้นใจก็มีพร้อมความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้จึงมีการเทศนาปฏิจจสมุปบาทดังแสดงไปแล้วข้างต้นเรียกว่าอนุโลมเทศนาหากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้นจากผลไปหาเหตุปัจจัยเช่นชรามรณะเป็นต้นมีเพราะชาติเป็นปัจจัยชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัยฯลฯสังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้เรียกว่าปฏิโลมเทศนาปฏิจจสมุปบาทปฏิจจสมุปบาทคือ
๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป
ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ