ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ
วิโมกข์หมายถึงสภาพที่จิตพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งปวงการพ้นจากโลกีย์การขาดจากความพัวพันแห่งโลกความเป็นพระอรหันต์ใช้หมายถึงพระนิพพานก็ได้ค่ะ
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘วิโมกข์
วิโมกข์
วิโมกข์
วิโมกข์
การพ้นจากโลกีย์
วิโมกข์แปลว่าความพ้นความหลุดพ้นวิเศษมีความหมายเช่นเดียวกับวิมุตติ
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘วิโมกข์
วิโมกข์
วิโมกข์
วิโมกข์
มีความหมายเช่นเดียวกับวิมุตติ
สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานมีประโยชน์มากคือ๑ทำคนให้ฉลาดเพราะจะรู้จักทั้งบัญญัติและปรมัตถ์เป็นอย่างดีละเอียดรอบคอบขึ้นมาก๒ทำคนให้มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม๓ทำคนให้สนิทสนมกลมกลืนกันกรุณาเอ็นดูสงสารกันพลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี๔ทำคนให้เว้นจากเบียดเบียนกันเว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน๕ทำคนให้รู้จักตัวเองและรู้จักปกครองตัวเอง๖ทำคนให้ว่านอนสอนง่ายไม่มานะถือตัวไม่เย่อหยิ่งจองหอง๗ทำคนให้หันหน้าเข้าหากันเพราะต่างฝ่ายต่างลดทิฏฐิมานะลง๘ทำคนให้หนักแน่นในกตัญญูกตเวทิตา๙ทำคนให้เป็นผู้ประเสริฐเพราะเหตุว่าการปฏิบัติธรรมนี้ย่อมเป็นไปเพื่อคุณสมบัติเหล่านี้คือ๑เพื่อละนิวรณ์๒เพื่อละกามคุณ๓เพื่อหัดให้คนเป็นผู้รู้จักประหยัด๔เพื่อละอุปาทานขันธ์๕เพื่อละสังโยชน์เบื้องต่ำคือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉาสีลัพพตปรามาสกามฉันทะพยาบาท๖เพื่อละคติ๔คือนรกภูมิเปตติวิสัยภูมิอสุรกายภูมิและดิรัจฉานภูมิเมื่อได้ญาณ๑๖ในวิปัสสนากรรมฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะเกิดอีกกี่ชาติอย่างพระโสดาบันเกิดไม่เกิน๗ชาติเป็นอย่างมากส่วนสมถกรรมฐานเมื่อได้ฌานที่๑ขึ้นไปก็อาจนำไปเกิดในพรหมโลกได้แต่ก็ยังคงเวียนว่ายมาเกิดในอบายถูมิ๔ได้อีกในชาติต่อๆไปดังนั้นสมถกรรมฐานจึงไม่ใช่การปฏิบัติที่ละอบายภูมิ๔ได้โดยเด็ดขาด๗เพื่อละความตระหนี่๕คือตระหนี่ที่อยู่ตระหนี่ตระกูลตระหนี่ลาภตระหนี่วรรณะตระหนี่ธรรม๘เพื่อละสังโยชน์เบื้องบนคือรูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจะอวิชชา๙เพื่อละตะปูตรึงใจ๕คือสงสัยในพระพุทธสงสัยในพระธรรมสงสัยในพระสงฆ์สงสัยในสิกขาความโกรธไม่พอใจในเพื่อนพรหมจรรย์๑๐เพื่อละเครื่องผูกพันจิตใจ๕คือไม่ปราศจากความชอบใจทะยานอยากในกามในรูปความสุขในการกินการนอนการรักษาศีลเพื่อเทพนิกาย๑๑เพื่อก้าวล่วงความโศกเศร้าเสียใจ(ทุกข์ทั้งหลาย)ดับทุกข์โทมนัสเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน๑๒อานิสงส์อย่างสูงให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อย่างกลางก็ให้สำเร็จเป็นพระอนาคามีสกทาคามีโสดาบันอย่างต่ำไปกว่านั้นที่เป็นสามัญก็เป็นผู้ที่มีคติเที่ยงที่จะไปสู่สุคติ๑๓ชื่อว่าได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยปฏิบัติบูชา๑๔ชื่อว่าเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า๑๕ชื่อว่าเป็นผู้ได้บำเพ็ญสิกขา๓คือศีลสมาธิปัญญา๑๖ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทเพราะมีสติอยู่กับรูปนามเสมอความไม่ประมาทนั้นคืออยู่อย่างมีสตินั่นเอง๑๗ชื่อว่าได้เป็นผู้ทรงธรรม๑๘ชื่อว่าได้เป็นผู้ปฏิบัติถูกต้อง๑๙ชื่อว่าได้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ทางสายกลาง๒๐ชื่อว่าได้เข้าถึงพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงคือถึงด้วยอำนาจแห่งการปฏิบัติคืออธิศีลอธิจิตอธิปัญญาได้แก่ศีลสมาธิปัญญาที่เกิดกับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ภังคญาณเป็นต้นไปจนถึงมรรคญาณผลญาณและปัจจเวกขณญาณ
วิปัสสนากรรมฐาน
ประโยชน์ของสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
สวนไผ่ค่ะ
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
สังสารหรือสงสารแปลว่าความท่องเที่ยวไปในทางพุทธศาสนาหมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้หมายถึงความรู้สึกหวั่นไหวด้วยความกรุณาเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับความทุกข์หรอกนะคะดังนั้นสังสารวัฏแปลว่าความท่องเที่ยวไปในอาการที่เป็นวัฏฏะการหมุนวนอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิดเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัฏสงสารสงสารวัฏหมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่างๆของสัตว์โลกด้วยอำนาจกิเลสกรรมวิบากหมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลสกรรมวิบากไม่ได้วัฏสงสาร
วัฏสงสาร
วัฏสงสาร
เวียนว่ายตายเกิด
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ณสถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด๓เดือนแก่พระสงฆ์นั้นมีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างๆซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝนเพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาจำพรรษาตลอด๓เดือนนั้นเป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
วันเข้าพรรษา
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษา
วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา
ป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบ
หมายถึงการลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรักทำด้วยความพากเพียรพยายามทำด้วยความสนุกกล้าหาญกล้าเผชิญกับความทุกข์ยากปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นหากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใดๆก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไปโดยไม่ย่อท้อไม่สิ้นหวังเดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือความสำเร็จค่ะและยังเป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆขณะทำงานตรงกันข้ามหากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า"คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร"
วิริยะ
วิริยะ
หมายถึงผู้ช่วยเหลือรับใช้พระสงฆ์ทำกิจธุระแทนสงฆ์ถ้าตามกฎหมายหมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือและกำหนดให้ไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ไวยาวัจกร
ไวยาวัจกร
ไวยาวัจกร
ไวยาวัจกร
ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระสงฆ์
หลังจากทรงตั้งพระทัยที่จะนำสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้มาสอนแก่มนุษย์ทั้งหลายพระองค์ได้ทรงพิจารณาหาบุคคลที่สมควรจะแสดงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้โปรดก่อนเป็นบุคคลแรกในครั้งแรกพระองค์ทรงระลึกถึงอาฬารดาบสกาลามโคตรและอุทกดาบสรามบุตรก่อนซึ่งทั้งสองท่านเป็นพระอาจารย์ที่พระองค์ได้เข้าไปศึกษาในสำนักของท่านก่อนปลีกตัวออกมาแสวงหาโพธิญาณด้วยพระองค์เองก็ทรงทราบว่าทั้งสองท่านได้เสียชีวิตแล้วจึงได้ทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้งห้าผู้ที่เคยอุปัฏฐากพระองค์ในระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาและทรงทราบด้วยพระญาณว่าปัญจวัคคีย์พำนักอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสีพระองค์จึงตั้งใจเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเป็นครั้งแรก
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
ปัญจวัคคีย์ทั้งห้า
หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานวัดเชตวันได้รับการดูแลมาตลอดโดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ๆพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุกๆแห่งเหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาดโดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันจวบจนเมืองสาวัตถีตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นมคธและเสื่อมความสำคัญลงจนถูกเมืองสาวัตถีและวัดแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างไปหลังยุคกุษาณะในช่วงพุทธศตวรรษที่๑๘จากเมืองหลวงแห่งแคว้นเป็นชนบทเล็กๆที่ห่างไกลและสิ่งก่อสร้างถูกทิ้งกลายสภาพเป็นเนินดินและชื่อของสาวัตถีได้ถูกลืมไปจากอินเดียจนมีการขุดค้นพบพุทธสถานและซากเมืองในช่วงหลังทำให้ปัจจุบันซากวัดแห่งนี้ได้รับการขุดค้นปรับแต่งเป็นอย่างดีซึ่งต่างจากตัวเมืองสาวัตถีที่ไม่มีการบูรณะขุดค้นเท่าใดนักจึงทำให้ปัจจุบันมีผู้มาจาริกแสวงบุญณวัดเชตวันเป็นประจำปัจจุบันชาวบ้านแถบนี้เริ่มหันหลังมาเรียกตำบลแห่งนี้ว่าศราวัสตีซึ่งภาษาสันสกฤตเหมือนในสมัยก่อนบ้างแล้ว
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร
อุปกิเลสแห่งวิปัสสนานี้มี๑๐อย่างแต่ละอย่างมีความยึดถือได้อย่างละ๓แบบรวมเป็น๓๐ได้แก่ทิฏฐิคาหะหมายถึงยึดถือด้วยทิฏฐิเช่นยึดถืออยู่ว่าโอภาสเกิดขึ้นแก่เราแล้วมานคาหะหมายถึงยึดถือด้วยมานะเช่นยึดถืออยู่ว่าโอภาสน่าพึงพอใจจริงหนอเกิดขึ้นแล้วตัณหาคาหะหมายถึงยึดถือด้วยตัณหาเช่นชื่นชมโอภาสอยู่
วิปัสสนูปกิเลส
วิปัสสนูปกิเลส
อ่านว่าวิสุงคามะสีมาแปลว่าเขตแดนส่วนหนึ่งจากแดนบ้านค่ะ
พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘วิสุงคามสีมา
วิสุงคามสีมา
เดิมนั้นพระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น๓หมวดใหญ่ๆได้แก่ภาค๑สุตตวิภังค์ภาค๒ขันธกะภาค๓ปริวารในภายหลังมีการแบ่งเป็น๕ส่วนและถือเอาเป็นหลักในการจำแนกหมวดพระวินัยมาจนปัจจุบันดังนี้๑มหาวิภังค์เนื้อหาเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งการบัญญัติพระวินัยและข้อวินัยของพระสงฆ์๒๒๐ข้อกับวิธีพิจารณาข้อพิพาทอีก๗ข้อรวมเป็นศีล๒๒๗ข้อ๒ภิกขุนีวิภังค์กล่าวถึงวินัยของพระภิกษุณีที่ไม่ซ้ำกับพระภิกษุ๑๓๐ภิกษุณีมีวินัย๓๑๑ข้อ๓มหาวรรคแบ่งได้เป็น๑๐หมวดย่อยหรือ๑๐ขันธกะกำเนิดภิกษุสงฆ์และกิจการเกี่ยวแก่ภิกษุสงฆ์ได้แก่มหาขันธกะอุโบสถขันธกะวัสสูปนายิกาขันธกะปวารณาขันธกะจัมมขันธกะเภสัชชขันธกะกฐินขันะกะจีวรขันธกะจัมเปยยขันธกะและโกสัมพิขันธกะ๔จุลวรรคแบ่งเป็น๑๒หมวดย่อยหรือ๑๒ขันธกะเกี่ยวกับระเบียบความเป็นอยู่ของภิกษุภิกษุณีและเรื่องสังคายนาได้แก่กรรมขันธกะปริวาสิกขันธกะสมุจจยขันธกะสมถขันธกะขุททกวัตถุขันธกะเสนาสนขันธกะสังฆเภทขันธกะวัตตขันธกะปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะภิกขุนีขันธกะปัญจสติกขันธกะและสัตตสติกขันธกะและ๕ปริวารเป็นข้อปลีกย่อยต่างๆและคู่มือถามตอบซักซ้อมเกี่ยวกับพระวินัยค่ะ
พระวินัยปิฎก
พระวินัยปิฎก
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีการบูชาในเดือน๘หรือวันอาสาฬหบูชาในประเทศพุทธเถรวาทมาก่อนจนมาในปีพศ๒๕๐๑การบูชาในเดือน๘หรือวันอาสาฬหบูชาจึงได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทยตามที่คณะสังฆมนตรีได้กำหนดให้วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อพศ๒๕๐๑โดยคณะสังฆมนตรีได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทยตามคำแนะนำของพระธรรมโกศาจารย์หรือชอบอนุจารีโดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายกเมื่อวันที่๑๔กรกฎาคมพศ๒๕๐๑กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชาอันเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากลอย่างไรก็ตามวันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้นส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่นๆยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
โดยคณะสังฆมนตรี
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาทจนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๔พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน๓ดังกล่าวว่าเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่งควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใสจึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้นโดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชาคือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆมีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวงต่างๆเป็นต้นโดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายในยังไม่แพร่หลายทั่วไปจนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา
เดิมวัดเชตวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของเจ้าเชตเจ้าชายในราชวงศ์โกศลแห่งเมืองสาวัตถีเป็นพระราชอุทยานร่มรื่นนอกตัวเมืองหลวงมีเนื้อที่๘๐ไร่วัดเชตวันมหาวิหารมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่าวัดพระเชตวันอารามของบิณฑิกเศรษฐีที่เรียกเช่นนี้เพื่อให้ทราบว่าวัดนี้เป็นวัดที่อนาถบิณฑิกะสร้างถวายแต่ใช้ชื่อวัดของเจ้าของที่เดิมเพราะวัดแห่งนี้เดิมเป็นที่ของเจ้าเชตเศรษฐีเจ้าที่ดินในสมัยนั้นซึ่งอนาถบิณฑิกะซื้อต่อมาด้วยราคาที่แพงมหาศาลถึง๑๘โกฏิด้วยการที่เจ้าเชตกำหนดให้นำเหรียญทองมาปูเต็มพื้นที่ๆต้องการซื้อและซ้ำยังต้องใช้ชื่อวัดเป็นชื่อของเจ้าเชตอีกด้วยจึงทำให้วัดนี้ได้นามตามเจ้าของเดิมในขณะที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเจ้าของที่ผู้สร้างวัดถวายไม่สามารถใส่ชื่อของตนไปในนามวัดได้โดยวัดแห่งนี้อนาถบิณฑกเศรษฐีได้สร้างถาวรวัตถุต่างๆสิ้นเงินไปอีก๓๖โกฏิจึงทำให้การสร้างวัดแห่งนี้มีราคาถึง๕๔โกฏิพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับจำพรรษาและบำเพ็ญพุทธกิจที่วัดแห่งนี้รวมถึง๑๙พรรษานับว่าเป็นวัดที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษานานที่สุดเนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่สัปปายะต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเพราะเมืองสาวัตถีในสมัยนั้นเป็นเมืองที่มั่งคั่งสงบและมีการอุปถัมภ์บำรุงเป็นอย่างดีจากพระเจ้าปเสนทิโกศลอนาถบิณฑิกเศรษฐีและประชาชนทั้งหลายวัดแห่งนี้เป็นสถานที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรสำคัญๆในพระพุทธศาสนามากมายเช่นเรื่องของพระองคุลิมาลนางปฏาจาราเถรีพระนางกิสาโคตมีเถรีการถวายอสทิสทานเรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้พราหมณ์จูเฬกสาฏกทรงพยากรณ์สุบินนิมิต๑๖ประการนางกาลียักษิณีนางจิญมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบพระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบเป็นต้นในส่วนพระสูตรนั้นมีจำนวนมากที่สำคัญๆเช่นมหามงคลสูตรธชัคคสูตรทสธัมมสูตรสาราณียธรรมสูตรอหิราชสูตรเมตตานสังสสูตรคิริมานนทสูตรธัมมนิยามสูตรอปัณณกสูตรอนุตตริยสูตรพลสูตรมัคควิภังคสูตรโลกธัมมสูตรทสนารถกรณธัมมสูตรอัคคัปปทานสูตรปธานสูตรอินทริยสูตรอนริยสูตรและสัปปุริสธัมมสูตรโดยทั้งหมดทรงแสดงณวัดเชตวันแห่งนี้ค่ะ
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร
วัดเชตวันมหาวิหาร
เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของพระเจ้าพิมพิสารเป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออกเวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่าพระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานหรือเวฬุวันกลันทกนิวาปที่แปลว่าสวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแตพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานแห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ณพระราชอุทยานลัฏฐิวันที่แปลว่าพระราชอุทยานสวนตาลหนุ่มโดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาและหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นานอารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนาอันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชาค่ะ
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
สวนป่าไผ่ร่มรื่น
เดิมวัดเวฬุวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของพระเจ้าพิมพิสารเป็นสวนป่าไผ่ร่มรื่นมีรั้วรอบและกำแพงเข้าออกเวฬุวันมีอีกชื่อหนึ่งปรากฏในพระสูตรว่าพระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถานหรือเวฬุวันกลันทกนิวาปที่แปลว่าสวนป่าไผ่สถานที่สำหรับให้เหยื่อแก่กระแตพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายพระราชอุทยานแห่งนี้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาหลังจากได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจจ์ณพระราชอุทยานลัฏฐิวันที่แปลว่าพระราชอุทยานสวนตาลหนุ่มโดยในครั้งนั้นพระองค์ได้บรรลุพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาและหลังจากการถวายกลันทกนิวาปสถานไม่นานอารามแห่งนี้ก็ได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพระสงฆ์ประชุมจาตุรงคสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนาอันเป็นเหตุการณ์สำคัญในวันมาฆบูชาค่ะ
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
วัดเวฬุวันมหาวิหาร
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรกจึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลกและด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถแสดงเปิดเผยทำให้แจ้งแก่ชาวโลกซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะคือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ซึ่งแตกต่างจากพระปัจเจกพุทธเจ้าที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบแต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่าวันพระธรรมวันอาสาฬหบูชายังเป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรกและได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาและด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าวพระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลกด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่าวันพระสงฆ์ดังนั้นวันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าวซึ่งควรพิจารณาเหตุผลโดยสรุปจากประกาศสำนักสังฆนายกเรื่องกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาที่ได้สรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันอาสาฬหบูชาไว้โดยย่อดังนี้เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมจักร์ประกาศสัจจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลกคือพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาในวันนั้นเป็นวันแรกที่บังเกิดสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัยคือพระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะพระสังฆรัตนะ
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
แสดงพระธรรมเป็นครั้งแรก
เมื่อปัญจวัคคีย์ตั้งใจเพื่อสดับพระธรรมของพระองค์แล้วพระพุทธองค์ทรงจึงทรงพาเหล่าปัญจวัคคีย์ไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันอันร่มรื่นแล้วทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรซึ่งเรียกว่าปฐมเทศนาเป็นการยังธรรมจักรคือการเผยแผ่พระธรรมให้เป็นไปเป็นครั้งแรกในโลกโดยพระพุทธองค์ทรงกล่าวสรุปถึงเนื้อหาของการแสดงพระปฐมเทศนาไว้ในสัจจวิภังคสูตรมัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์ว่า"ภิกษุทั้งหลายตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปแล้วที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้นครพาราณสี,เป็นพระธรรมจักรที่สมณะพราหมณ์,เทพมารพรหมหรือใครๆในโลกจะต้านทานให้หมุนกลับไม่ได้ข้อนี้คือการบอกการแสดงการบัญญัติการแต่งตั้งการเปิดเผยการจำแนกและการทำให้ง่ายซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่ประการสี่ประการนั้นได้แก่ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์และความจริงอันประเสริฐคือทางที่ทำให้ผู้ปฏิบัติตามลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์"เมื่อพระพุทธองค์ตรัสแสดงพระปฐมเทศนานี้อยู่ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา"ท่านโกณฑัญญะได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลแล้วพระพุทธองค์ทรงทราบความที่พระโกณฑัญญะเป็นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในคำสอนของพระองค์จึงทรงเปล่งพระอุทานว่า"อญฺญาสิวตโภโกณฺฑญฺโญ"ท่านผู้เจริญท่านโกณฑัญญะรู้แล้วหนอเพราะเหตุนั้นคำว่า"อัญญา"นี้จึงได้เป็นคำนำหน้าชื่อของท่านพระโกณฑัญญะเมื่อท่านพระโกณฑัญญะได้บรรลุโสดาบันแล้วจึงได้กราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทพระพุทธองค์จึงทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาว่า"เธอจงเป็นภิกษุมาเถิดธรรมอันเรากล่าวดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะจึงนับเป็นพระสงฆ์อริยสาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนาซึ่งวันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน๘เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกคือมีพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ครบบริบูรณ์
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา
วันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์
เวทนาเป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมีการกล่าวถึงในพระพุทธศาสนาหมายถึงการเสวยอารมณ์ความรู้สึกเวทนาขันธ์เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕หรือเบญจขันธ์เวทนาสามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆได้หลายแบบเช่นเวทนา๒เวทนา๓เวทนา๕และเวทนา๖
เวทนา
เวทนา
เวทนา
เวทนา
การเสวยอารมณ์
เวทนา๒แบ่งการเสวยอารมณ์ออกเป็นสองอย่างคือ๑กายิกเวทนาหมายถึงเวทนาทางกายการเสวยอารมณ์ทางกายความรู้สึกทางกาย๒เจตสิกเวทนาหมายถึงเวทนาทางใจการเสวยอารมณ์ทางใจความรู้สึกทางใจ
เวทนา
เวทนา
เวทนา
เวทนา
การเสวยอารมณ์เป็นสอง
เวทนา๓แบ่งการเสวยอารมณ์ความรู้สึกรสของอารมณ์ออกเป็นสามอย่างคือ๑สุขเวทนาหมายถึงความรู้สึกสุขสบายทางกายก็ตามทางใจก็ตาม๒ทุกขเวทนาหมายถึงความรู้สึกทุกข์ไม่สบายทางกายก็ตามทางใจก็ตาม๓อทุกขมเวทนาหมายถึงความรู้สึกเฉยๆจะสุขก็ไม่ใช่ทุกข์ก็ไม่ใช่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุเบกขาเวทนา
เวทนา
เวทนา
เวทนา
เวทนา
การเสวยอารมณ์เป็นสาม
๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป
ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ