| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     คำว่าสังขารในเรื่องไตรลักษณ์กับในเรื่องขันธ์จะต่างกันคือสังขารในเรื่องไตรลักษณ์เป็นรูปธรรมในเรื่องขันธ์เป็นนามธรรมค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สังขาร สังขาร สังขาร สังขาร ไตรลักษณ์ขันธ์ต่างกัน

     คือการที่ใครก็ตามที่เกิดมาย่อมมีหน้าที่ติดตัวมาด้วยกันทั้งนั้นดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนใครเป็นสามีก็รับผิดชอบต่อหน้าที่สามีเลี้ยงครอบครัวให้ดีไม่ปันใจให้หญิงอื่นจริงใจกับภรรยาใครเป็นภรรยาก็จริงใจต่อหน้าที่ของภรรยาดูแลการงานในบ้านให้เรียบร้อยไม่เที่ยวเตร่ไม่เล่นการพนันเผาผลาญทรัพย์เป็นลูกก็ต้องมีความรับผิดชอบว่าเราเป็นลูกมีหน้าที่รักษาวงศ์ตระกูลให้ดีถ้าพ่อแม่แก่เฒ่าก็ต้องเลี้ยงดูท่านทหารก็จริงใจลงไปในหน้าที่ทหารเป็นตำรวจก็รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตำรวจไม่ว่าใครจะเป็นอะไรก็ทุ่มไปกับหน้าที่ของตัวให้เต็มที่หากทำเช่นนี้ได้จึงเรียกว่ามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ สัจจะ สัจจะ สัจจะ สัจจะ ต่อหน้าที่

     คือสวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ค่ะ สรภัญญะ สรภัญญะ สรภัญญะ สรภัญญะ สังโยค

     คือระบบความจำที่สามารถจำคนสัตว์สิ่งของและเหตูการณ์ต่างๆได้เช่นจำสิ่งที่เห็นจำเสียงจำกลิ่นจำรสจำชื่อคนจำหนังสือจำเรื่องในอดีตได้ว่าเป็นสีเขียวไพเราะหอมหวานเป็นต้นนอกจากนั้นยังเป็นขันธ์หนึ่งใน๕ขันธ์และเป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมี๒ประเภทคือสัญญา๖และสัญญา๑๐ค่ะและในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสัญญานั้นย้อนกลับไปได้ไม่สิ้นสุดเช่นเราลองนึกถึงตัวเราในอดีตที่กำลังเศร้ากับการกระทำที่ผิดพลาดของตนในอดีตในสัญญาของตัวเราในอดีตก็มีเหตุการณ์ที่ตัวเราในอดีตขณะนั้นมีภาพตัวเราที่เป็นอดีตของอดีตตัวเราทำความผิดพลาดซ้อนอีกดังนั้นสัญญาจะมีลักษณะซ้อนทับกับไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุดค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สัญญา_(ศาสนาพุทธ) สัญญา สัญญา สัญญา ระบบความจำ

     ค่ะถึงแม้สังโยชน์เบื้องสูงบางข้อจะมีชื่อเหมือนกิเลสอย่างหยาบที่ยังมีในปถุชนอย่างมานะอุทธัจจะหรืออวิชชาแต่สังโยชน์เบื้องสูงนั้นเป็นกิเลสที่ละเอียดกว่าของปถุชนอย่างมากเลยหล่ะค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดวัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘อริยบุคคล สังโยชน์เบื้องสูง สังโยชน์ สังโยชน์ กิเลสที่ละเอียดกว่า

     ง่ายง่ายก็จะทำอะไรก็ตามควรรู้จักเหตุรู้จักผลรู้จักตนรู้จักประมาณรู้จักกาลรู้จักชุมชนและรู้จักบุคคลค่ะ พระไพศาลวิสาโลวิสัชนา สัปปุริสธรรม สัปปุริสธรรม สัปปุริสธรรม รู้จักผล

     จากศรีลังกาภิกษุณีสงฆ์ได้ไปสืบสายไว้ในจีนไต้หวันและอื่นๆอีกมากจนกระทั่งพุทธศาสนาที่อินเดียและศรีลังกาเสื่อมลงลงไปในช่วงหลังทำให้ภิกษุณีฝ่ายเถรวาทซึ่งมีศีลและข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากไม่สามารถรักษาวงศ์ของภิกษุณีไว้ได้จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการบวชเป็นภิกษุณีสายเถรวาทในปัจจุบันนี้ค่ะ สิกขมานา ภิกษุณี ภิกษุณี ภิกษุณี สืบสายไว้ในจีน

     ชื่อของเมืองมาจากชื่อของฤๅษีชื่อสวัตถะหรืออีกนัยหนึ่งเมืองสาวัตถีมาจากคำภาษาบาลีที่แปลว่ามีสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคเพียบพร้อมทุกอย่างหรือจากตำนานที่ว่าเมื่อพ่อค้ามาที่เมืองนี้มักถูกถามว่ามีข้าวของอะไรมาขายบ้างซึ่งคำว่าทุกอย่างมาจากภาษาบาลีว่าสพฺพํอตฺถิซึ่งสพฺพํแปลว่าทุกอย่างหรือมาจากภาษาสันสกฤตว่าสรฺวํอสฺติจึงกลายมาเป็นชื่อเมืองนี้ว่าสาวัตถีหรือศราวัสตี สาวัตถี สาวัตถี

     ตรงข้ามกับคำว่าอสัจซึ่งแปลว่าไม่จริงบิดพลิ้ว สัจจะ สัจจะ สัจจะ สัจจะ ตรงข้ามกับอสัจ

     ต่อมาภายหลังจึงเกิดการจาริกไปยังสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์เพิ่มขึ้นอีก๔แห่งนั่นคือ๑สถานที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์๒สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์๓สถานที่ทรมานช้างนาฬคีรี๔สถานที่ทรมานพญาวานร สังเวชนียสถาน สังเวชนียสถาน สังเวชนียสถาน สังเวชนียสถาน เพิ่มขึ้นอีก๔แห่ง

     ที่จำชาติก่อนไม่ได้เพราะกฎแห่งวัฏฏะคือเรามีอวิชชาเป็นกิเลสวัฏฏะทำให้เกิดมโนกรรมคือมิจฉาทิฏฐิทำให้เกิดวิบากกรรมคือจำชาติที่แล้วไม่ได้เนื่องจากขณะจิตที่ดับจิตเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่รู้ทุกข์เหตุแห่งทุกข์ความดับทุกข์คือดับกิเลสและทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์คือมรรคมีองค์๘ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สัญญา_(ศาสนาพุทธ) สัญญา สัญญา สัญญา กฎแห่งวัฏฏะ

     ที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ฯ ? สาสวะ

     ที่ได้ชื่อดังนี้เพราะพระราชโอรสพระราชธิดาของพระเจ้าโอกการาชสามารถแยกออกมาตั้งเมืองกบิลพัสดุ์และตั้งวงศ์ใหม่ได้สำเร็จพระราชบิดาทรงชมเชยว่ามีความองอาจสามารถมากจึงเรียกราชวงศ์ที่ตั้งใหม่นี้กันตามพระราชดำรัสชมเชยนั้นว่าศากยวงศ์วงศ์ของผู้สามารถค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สักกะ สักกะ ศากยวงศ์ สักกะ วงศ์

     ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า"ดูกรท่านผู้มีอายุเมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าอกุศลรู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิมีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้ก็อกุศลเป็นไฉน?ได้แก่ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกามพูดเท็จพูดส่อเสียดพูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้ออยากได้ของผู้อื่นปองร้ายเขาเห็นผิดอันนี้เรียกว่าอกุศลแต่ละอย่างๆรากเง่าของอกุศลเป็นไฉน?ได้แก่โลภะโทสะโมหะอันนี้เรียกว่ารากเง่าของอกุศลแต่ละอย่างๆกุศลเป็นไฉน?ได้แก่ความเว้นจากฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกามพูดเท็จพูดส่อเสียดพูดคำหยาบพูดเพ้อเจ้อไม่อยากได้ของผู้อื่นไม่ปองร้ายเขาเห็นชอบอันนี้เรียกว่ากุศลแต่ละอย่างๆรากเง่าของกุศลเป็นไฉน?ได้แก่อโลภะอโทสะอโมหะอันนี้เรียกว่ารากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆดูกรท่านผู้มีอายุเมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆรู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆเมื่อนั้นท่านละราคานุสัยบรรเทาปฏิฆานุสัยถอนทิฏฐานุสัยและมานานุสัยว่าเรามีอยู่โดยประการทั้งปวงละอวิชชายังวิชชาให้เกิดย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียวแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิมีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรมมาสู่พระสัทธรรมนี้" สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ปรโตโมสะกับโยนิโสมนสิการ รู้อกุศลกุศลและรากเง่า

     นครสาคละเมืองสาคละหรือสาคลเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะเมืองนี้เป็นต้นกำเนิดตำนานมิลินทปัญหาค่ะ สาคละ สาคละ สาคละ เมืองสาคละ แคว้นมัจฉะ

     นอกจากบทสรรเสริญพระรัตนตรัยแล้วทำนองสรภัญญะยังใช้สวดคาถาบทอื่นอีกเช่นบทแปลคาถาพาหุงซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเริ่มว่าปางเมื่อพระองค์ปรมพุทธ สรภัญญะ สรภัญญะ สรภัญญะ สรภัญญะ ยังใช้สวดคาถาบทอื่น

     นอกจากเมืองแห่งนี้จะเป็นสถานที่เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วบริเวณที่ใกล้กับสังกัสสะนั้นคือที่ตั้งของเมืองกโนช์หรือกเนาช์ซึ่งมีชื่อในภาษาบาลีว่ากณฺณกุชและในภาษาสันสกฤตว่ากานฺยกุพฺชโดยเมืองกโนช์มีความสำคัญในหลังพุทธกาลคือในช่วงพุทธศตวรรษที่๑๒เมืองนี้ได้เป็นเมืองหลวงของพระเจ้าหรรษวรรธนะผู้ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาและเมืองกโนช์ได้เป็นที่มั่นสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาในยุคนั้นโดยเมื่อหลวงจีนถังซำจั๋งได้มาเยี่ยมเมืองแห่งนี้ท่านได้บันทึกไว้ว่ามีวัดกว่าร้อยวัดและมีพระอยู่ประจำกว่าหมื่นรูปทั้งสงฆ์เถรวาทและมหายานค่ะ สังกัสสะ สังกัสสะ สังกัสสะ สังกัสสะ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์

     บรรพชิตสัมมาอาชีวะหมายถึงการใช้ชีวิตด้วยการบริโภคปัจจัยสี่อย่างมักน้อยเท่าที่จำเป็นถ้าเป็นนักบวชที่อยู่ด้วยการขอต้องรักษาปัจจัยสี่ของทายกอย่างดีเพื่อให้คุ้มค่าต่อผู้ให้ไม่เบียดเบียนและไม่เสพสิ่งที่นอกเหนือจากปัจจัยสี่โดยไม่จำเป็นเช่นกามคุณ๕เพราะแม้ไม่เสพกามคุณมนุษย์ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้สัมมาอาชีวะของผู้บวชคือไม่เสพบริโภคเกินจำเป็นเช่นดูการละเล่นแต่งตัวเป็นต้น สัมมาอาชีวะ สัมมาอาชีวะ

     ปปุริสธรรมหรือสัปปุริสธรรม๗หมายถึงธรรมของสัตบุรุษธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษคุณสมบัติของคนดีธรรมของผู้ดีค่ะ สัปปุริสธรรม สัปปุริสธรรม สัปปุริสธรรม สัปปุริสธรรม คือธรรมของคนดี

     ประการที่๑สัจจะต่อความดีประการที่๒สัจจะต่อหน้าที่ประการที่๓สัจจะต่อการงานประการที่๔สัจจะต่อวาจาและประการที่๕สัจจะต่อบุคคลค่ะ สัจจะ สัจจะ สัจจะ สัจจะ มี๔

     ประมาณ๓๐๐กว่าปีต่อมาหลังพุทธกาลในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกลุ่มสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมธรรมเทศนาและพระธรรมเทศนาอื่นๆแก่เบญจวัคคีย์และหมู่คันธกุฎีของพระพุทธเจ้าในบริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวันได้รับการบูรณะและก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มเติมครั้งใหญ่เพื่อถวายเป็นอนุสรณียสถานแก่พระพุทธเจ้าและกลุ่มพุทธสถานเหล่านี้ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์คุปตะโดยในบันทึกของพระถังซำจั๋งซึ่งได้จาริกมาราวพศ๑๓๐๐ได้บันทึกไว้ว่า"มีพระอยู่ประจำ๑,๕๐๐รูปมีพระสถูปสูงประมาณ๑๐๐เมตรมีเสาศิลาจารึกรูปหัวสิงห์และสิ่งอัศจรรย์มากมายฯลฯ"และได้ถูกทิ้งร้างไปเมื่อกษัตริย์โมกุลเข้าปกครองอินเดียจนท่านอนาคาริกธรรมปาละชาวศรีลังกาได้มาบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้งและได้รับการบูรณะจากรัฐบาลอินเดียเรื่อยมาทำให้สารนาถกลายเป็นจุดหมายปลายทางในการแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธทั่วโลกมาจนถึงปัจจุบันค่ะ สารนาถ สารนาถ สารนาถ สารนาถ ได้รับการบูรณะ

     ประโยชน์เบื้องหน้าค่ะ _?%%%%%%% สัมปรายิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ เบื้องหน้า

     ปัจจุบันการพระราชทานทรงตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์นั้นโดยปรกติจะมีการพระราชพิธีพระราชทานฯในวันเฉลิมพระชนมพรรษา๕ธันวาคมของทุกปีหรือในกรณีพิเศษเช่นในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ๖๐ปีพุทธศักราช๒๕๔๙ในวันที่๙มิถุนายนซึ่งการพระราชทานสมณศักดิ์นั้นเฉพาะการทรงตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์สำหรับพระราชาคณะขึ้นไปจะทรงตั้งในพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยในพระบรมมหาราชวังโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศด้วยพระองค์เองหรือมอบให้ผู้แทนพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเป็นผู้พระราชทานแทนสำหรับการพระราชทานสมณศักดิ์เฉพาะระดับพระครูสัญญาบัตรนั้นในปัจจุบันจะทรงมอบพระราชภาระให้ผู้แทนพระองค์คือสมเด็จพระสังฆราชหรือเจ้าคณะใหญ่ในภาคนั้นๆเป็นผู้มอบสัญญาบัตรพัดยศแทนในวัดในเขตการปกครองของเจ้าคณะใหญ่หนนั้นๆตามแต่มหาเถรสมาคมจะกำหนดค่ะ สมณศักดิ์ สมณศักดิ์ พิจารณาสมณศักดิ์ สมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้มอบสัญญาบัตรพัดยศ



๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ