| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     ปัจจุบันพระสงฆ์ไม่ได้ใช้ห่มซ้อนกับจีวรเหมือนก่อนด้วยอยู่ในในถิ่นที่อากาศไม่หนาวจนเกินไปแต่พับแล้วพาดเก็บไว้บนบ่าเพื่อความสะดวกในเวลาเดินทางจนกลายเป็นผ้าพาดบ่าตามปกติไปค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สังฆาฏิ สังฆาฏิ สังฆาฏิ สังฆาฏิ ปัจจุบัน

     ปัจจุบันในประเทศไทยมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำบุญด้วยการถวายสังฆทานมากโดยส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าสิ่งของที่จะนำมาถวายสังฆทานนั้นต้องซื้อเป็นชุดไทยธรรมถังสีเหลืองสำเร็จรูปที่บรรจุสิ่งของจากร้านสังฆภัณฑ์หรือจะต้องนำสิ่งของที่ตนตั้งใจถวายใส่บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่มีสีเหลืองแล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปถวายพระสงฆ์แล้วจะเป็นสังฆทานที่ถูกต้อง สังฆทาน สังฆทาน สังฆทาน สังฆทาน ผิด

     ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ๗ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ผู้มีอายุไม่เกิน๒๐ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไปไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สามเณร สามเณร เณร สามเณร ๗ขวบ

     พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุผู้กระทำความเพียรเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงให้สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์หรือสีหไสยาสน์แต่มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยจากตามลักษณะของพระพุทธรูปที่ช่างปั้นขึ้นคือท่านสอนให้นอนตะแคงขวาศีรษะหนุนหมอนมือซ้ายวางทาบไปตามร่างกายด้านซ้ายมือขวาวางหวายแนบกับในหน้าเพื่อไม่ให้คอพลิกไปมาวางเท้าเหลื่อมเท้ากำหนดในใจมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาและจะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนดส่วนข้อที่บอกว่าวางเท้าเหลื่อมเท้านั้นเพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้งเมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวาอุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวาซึ่งมีความโค้งมนส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดีและไม่พลัดตกลงมาเท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรงแต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวาข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่มก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิกมือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้นไม่เหยียดตรงแต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเราคะ การนอน

     พระพุทธไสยาสน์นี้จะอยู่ในอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวาหลับพระเนตรพระเศียรหนุนพระเขนยพระหัตถ์ซ้ายวางทอดทาบไปตามร่างกายด้านซ้ายพระหัตถ์ขวาหงายอยู่กับพื้นข้างพระเขนยพระบาททั้งสองตั้งเรียงซ้อนกันลักษณะการนอนดังกล่าวนี้เรียกว่าสีหไสยาสน์เป็นการนอนของราชสีห์ว่ากันว่าราชสีห์นั้นเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและสง่างามในท่วงท่าและอิริยาบถแม้ในการนอนก็ต้องนอนด้วยอาการอันสำรวมคือเวลานอนจะใช้เท้าลูบฝุ่นที่นอนให้เรียบเสมอกันแล้วจึงจะตะแคงตัวด้านขวาลงนอนเท้าทั้งสี่จะอยู่ในอาการอันสำรวมไม่เหนียดหรือกางออกเหมือนสัตว์อื่นและจะกำหนดในใจว่าจะนอนอย่างมีสติสัมปชัญญะและตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด พระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์

     พระรัตนตรัยจัดเป็นสรณะได้ทั้งยามปกติและยามคับขันโดยเฉพาะเป็นที่พึ่งทางใจเป็นอนุสติเป็นแนวทางสำหรับยึดถือปฏิบัติตามเป็นอย่างดีเรียกการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งว่าไตรสรณคมน์หรือไตรสรณาคมน์ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สรณะ สรณะ สรณะ สรณะ

     ภาวะที่มีความจำคลาดเคลื่อนจำผิดๆถูกๆหรือมีสติฟั่นเฟือนเหมือนคนบ้าน่ะค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สัญญา_(ศาสนาพุทธ) สัญญา สัญญาวิปลาส สัญญา สติฟั่นเฟือน

     มีบางคนเค้าก็เขียนสุญตาแบบนี้นี่แหละค่ะมากจากคำว่าสุญญตาไงคะ พระพรหมคุณาภรณ์(ประยุทธ์ปยุตฺโต),พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์,หน้า๔๕๔๔๕๕สุญญตา สุญญตา

     มีลักษณะ๓อย่างคือยินดีพอใจในสิ่งที่มีที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตนในทางชอบธรรมไม่ดิ้นรนอยากได้จนทำให้เกิดความเดือดร้อนยินดีพอใจกำลังของตนใช้กำลังที่มีอยู่เช่นความรู้ความสามารถให้เกิดผลเต็มที่ไม่ย่อหย่อนบกพร่องยินดีพอใจแต่ไม่เกินเลยคือรู้จักพอเป็นอิ่มเป็นและแบ่งปันส่วนที่เกินเลยไปเอื้อเฟื้อผู้อื่นตามสมควร พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘สันโดษ สันโดษ

     มีลักษณะสำคัญ๘อย่างคะคือ๑ให้ของสะอาด๒ให้ของประณีต๓​ให้เหมาะกาลให้ถูกเวลา๔ให้ของสมควรให้ของที่ควรแก่เขาซึ่งเขาจะใช้ได้๕พิจารณาเลือกให้ให้ด้วยวิจารณญาณเลือกของเลือกคนที่จะให้ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก๖ให้เนืองนิตย์ให้ประจำหรือสม่ำเสมอ๗​เมื่อให้ทำจิตผ่องใส๘ให้แล้วเบิกบานใจ สัปปุริสทาน สัปปุริสทาน

     มูลเหตุที่ทำให้พุทธศาสนิกชนนิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทานมาจากทักขิณาวิภังคสูตรในพระไตรปิฎกซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสังฆทานโดยย่อว่าในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชมน์อยู่ครั้งนั้นทรงประทับอยู่ณวัดนิโครธารามกรุงกบิลพัสดุ์พระนางมหาปชาบดีโคตมีพระมาตุจฉาของพระพุทธเจ้าได้เกิดศรัทธาแรงกล้าทรงทอจีวรด้วยพระองค์เองเพื่อนำมาถวายแก่พระพุทธเจ้าแต่พระพุทธองค์ทรงได้ปฏิเสธที่จะรับถวายผ้าจีวรดังกล่าวโดยได้ตรัสให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีนำผ้าดังกล่าวไปถวายแก่กองกลางคณะสงฆ์เพราะทรงเห็นว่าการถวายผ้าเป็นสังฆทานจักได้อานิสงส์มากกว่าแม้จะถวายแก่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาก็ตามอีกทั้งการถวายเป็นสังฆทานนั้นย่อมถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งพระสงฆ์ทั้งปวงด้วยจากนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถึงปาฏิปุคลิกทาน๑๔ประเภทและตรัสถึงทักษิณาทานที่ถวายแก่สงฆ์หรือสังฆทานว่ามี๗ประการคือ๑ให้ทานในสงฆ์๒ฝ่ายคือทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข๒ให้ทานในสงฆ์๒ฝ่ายในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว๓ให้ทานในภิกษุสงฆ์ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว๔ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว๕เผดียงสงฆ์ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน๖เผดียงสงฆ์ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน๗เผดียงสงฆ์ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทานโดยได้ตรัสว่า"แม้ในอนาคตกาลการถวายสังฆทานแม้แก่พระสงฆ์ผู้ทุศีลก็ยังนับว่ามีผลนับประมาณมิได้และปาฏิปุคลิกทานทั้งปวงในบุคคลใดๆมีพระพุทธเจ้าเป็นอาทิก็ไม่สามารถมีผลสู้สังฆทาน๑ใน๗ประการดังกล่าวได้เลย"จากพระพุทธดำรัสดังกล่าวทำให้พุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธานิยมทำบุญด้วยการถวายสังฆทานเพราะมีอานิสงส์มากอีกประการหนึ่งการที่สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าปาฏิปุคลิกทานธรรมดาเพราะการที่จัดถวายทานแก่ส่วนรวมย่อมมีประโยชน์แก่พระศาสนามากกว่าเพราะการถวายสังฆทานเป็นการกระจายปัจจัยวัตถุอันจะพึงได้แก่คณะสงฆ์ทั้งปวงโดยไม่จำกัดหรือเลือกปฏิบัติแก่รูปใดรูปหนึ่งดังนั้นการที่พระพุทธองค์ตรัสยกย่องสังฆทานจึงนับได้ว่าเป็นการแสดงออกถึงการไม่เลือกปฏิบัติทางด้านบุคคลที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เพื่อเป็นประโยชน์ผาสุกโดยเท่าเทียมกันทางด้านปัจจัย๔แก่พระสงฆ์ทั้งปวงผู้เป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบันค่ะ สังฆทาน สังฆทาน สังฆทาน สังฆทาน

     ย่อมาจากคำว่าสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคน่ะค่ะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

     ละการพูดเท็จเว้นขาดจากการพูดเท็จพูดแต่คำจริงดำรงคำสัตย์มีถ้อยคำเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ไม่พูดลวงโลก สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา เจรจาชอบ

     ละคำส่อเสียดเว้นขาดจากคำส่อเสียดฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกันหรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกันสมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้างส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้างชอบคนผู้พร้อมเพรียงกันยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกันเพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกันกล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา เจรจาชอบ

     ละคำหยาบเว้นขาดจากคำหยาบกล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษเพราะหูชวนให้รักจับใจเป็นของชาวเมืองคนส่วนมากรักใคร่พอใจ สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา เจรจาชอบ

     ละคำเพ้อเจ้อเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อพูดถูกกาลพูดแต่คำที่เป็นจริงพูดอิงอรรถพูดอิงธรรมพูดอิงวินัยพูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้างมีที่กำหนดประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา สัมมาวาจา เจรจาชอบ

     สกทาคามีหรือสกิทาคามีแปลว่าผู้กลับมาเพียงครั้งเดียวค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดวัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘อริยบุคคล สกทาคามี สกทาคามี สกทาคามี กลับมาครั้งเดียว

     สกทาคามีเป็นชื่อเรียกพระอริยบุคคลลำดับที่๒ใน๔ประเภทค่ะที่เรียกว่าผู้กลับมาเพียงครั้งเดียวหมายถึงพระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพานผู้ได้บรรลุสกทาคามิผลคือผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำ๓ประการแรกได้เช่นเดียวกับพระโสดาบันอีกทั้งทำสังโยชน์เบื้องต่ำอีกสองประการที่เหลือให้เบาบางลงด้วยคือกามราคะหมายถึงความพอใจในกามคือการความเพลินในการได้เสพรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสธรรมารมณ์ที่น่าพอใจปฏิฆะหมายถึงความกระทบกระทั่งในใจคล้ายความพยาบาทอย่างละเอียดหากสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งสองประการนี้หมดไปก็จะเป็นพระอนาคามีค่ะ พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดวัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘อริยบุคคล สกทาคามี สกทาคามี สกทาคามี กลับมาครั้งเดียว

     สติมีใช้ในอีกหลายความหมายเช่นกำหนดรู้ตระหนักรู้ระลึกรู้สัมผัสรู้รู้สึกตัวและอื่นๆที่ใช้ในความหมายการทำความกำหนดรู้สึกตัวในปัจจุบันต่อผัสสะใดๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้กำหนดรู้เฉพาะหน้าให้เท่าทันต่อสัมผัสตามความเป็นจริงต่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นมาให้จิตเป็นอิสระต่อสิ่งที่มากระทบในฐานะเป็นเพื่อผู้เฝ้ารู้เฉยด้วยการเพิ่มการรับรู้ทางประสาทสัมผัสโดยลดการคิดนึกปรุงแต่งความรู้สึกอื่นๆ สติ สติ สติ สติ เห็นความจริง

     สติหมายถึงอาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืมระงับยับยั้งใจได้ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่ามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความไม่ประมาท สติ สติ สติ สติ ไม่หลงพลั้งเผลอ

     สติเป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ต้องทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆเช่นการเจริญวิปัสสนาคือการฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตรทำสมาธิสวดมนต์ภาวนาคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง๖ สติ สติ สติ สติ เห็นความจริง

     สติเป็นธรรมมีอุปการะมากคือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอเป็นเจตสิกชนิดหนึ่งสตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการงานความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆการคิดอ่านย่อมเป็นระบบจิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใดๆอารมณ์มักจะเป็นปกติไม่ค่อยโกรธเครียดหรือทุกข์ใจอะไรมากๆกล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนถ้ารู้เนืองๆมากๆเข้าจนเป็นมหาสติก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วยการที่เรามีสติอยู่เนืองๆรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้างทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการเห็นความจริงความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือกายกับใจจุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริงอันได้แก่อนิจจังทุกขังอนัตตาว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวเรา สติ สติ สติ สติ เห็นความจริง

     สติแปลว่าความระลึกได้ความนึกขึ้นได้ความไม่เผลอฉุกคิดขึ้นได้การคุมจิตไว้ในกิจ สติ สติ สติ สติ ความระลึกได้



๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ