| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ

     ราคจริตหนักไปทางรักสวยรักงามคือพอใจในรูปสวยเสียงเพราะกลิ่นหอมรสอร่อยสัมผัสนิ่มนวลชอบการมีระเบียบสะอาดประณีตพูดจาอ่อนหวานเกลียดความเลอะเทอะมักชอบพัฒนาศิลปะให้แก่สังคม ราคจริต จริต ราคจริต รักสวย

     วิตกจริตหนักไปทางชอบคิดมากถ้าขี้ขลาดจะวิตกกังวลฟู้งซ่านชอบคิดตัดสินใจไม่เด็ดขาดไม่กล้าตัดสินใจคิดอย่างไม่มีเหตุผลเกินจริงชอบแหกกฎเกณฑ์ข้อดีคิดนอกกรอบทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆต่อสังคม วิตกจริต จริต วิตกจริต คิดมาก

     สัทธาจริตหนักไปทางเชื่อถือจริงใจน้อมไปในความเชื่อเป็นอารมณ์ประจำใจเชื่อโดยไร้เหตุผลพวกนี้ถูกหลอกได้ง่ายใครแนะนำก็เชื่อโดยไม่พิจารณาชอบเพื่อนชอบร่วมกลุ่มพวกมากลากไปแคร์สังคมกลัวคนนินทาชอบช่วยเหลือผู้อ่อนแอ่ สัทธาจริต จริต สัทธาจริต ถูกหลอกง่าย

     ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มิรับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัดสั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่ไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัดสั่งให้บรรชิตและคฤหัสถ์ที่มีอยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดทำงานภายในวัดหรือให้ทำทัณฑ์บนหรือขอขมาโทษในกรณีบรรพชิตหรือศิษย์วัดนั้นประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัยกฎมหาเถรสมาคมข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม อำนาจเจ้าอาวาส เจ้าอาวาส เจ้าอาวาส อาศัยในวัด

     อ้าาาจิตอ่อนนี่หมายถึงจิตเบาจิตว่างหน่ะค่ะไม่ได้หมายถึงว่าเป็นคนขวัญอ่อนไรงั้นนะคะ []หลวงปู่ขาวอนาลโย[] []'เมตตาจิตพิชิตกิเลส'คติธรรมคำสอน'หลวงปู่ขาวอนาลโย'[] จิต จิต จิต จิตเบาจิตว่าง

     เจตสิกอ่านว่าเจตะสิกแปลว่าธรรมที่ประกอบกับจิตสิ่งที่เกิดในใจทางใจพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘เจตสิก เจตสิก เจตสิก เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต

     เจตสิกเป็นนามธรรมที่เกิดร่วมกับจิตแล้วก็ดับพร้อมกับจิตอย่างเช่นโลภะโทสะไรเงี้ยค่ะ? เจตสิก เจตสิก เจตสิก เกิดร่วมกับจิต

     เจตสิกเป็นนามธรรมที่ไม่ใช่จิตแต่เกิดร่วมกับจิตแล้วก็ดับพร้อมกับจิตได้แก่โลภะโทสะเป็นต้นโทสะคือความโกรธก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงอย่างหนึ่งโลภะเป็นสภาพที่ติดข้องต้องการก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งแต่ทั้งโลภะและโทสะต่างก็ไม่ใช่จิตจิตยังเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์เช่นการได้ยินเป็นต้นแต่เจตสิกทั้งหลายนั้นบางเจตสิกก็เกิดกับจิตทุกประเภทบางเจตสิกก็เกิดกับจิตประเภทหนึ่งไม่เกิดกับจิตอีกประเภทหนึ่งเช่นโลภเจตสิกไม่เกิดร่วมกับโทสะมูลจิตจิตที่มีโลภะเจตสิกเกิดร่วมด้วยจะพอใจติดข้องในอารมณ์จิตที่มีโทสะเจตสิกเกิดร่วมด้วยจะหยาบกระด้างขุ่นเคืองไม่แช่มชื่นจิตที่มีโลภะเจตสิกเกิดร่วมด้วยและจิตที่มีโทสะเจตสิกเกิดร่วมด้วยนี้เป็นจิตต่างขณะและต่างประเภทกันเพราะประกอบด้วยเจตสิกที่ต่างกันนั่นเองค่ะ? เจตสิกคืออะไรต่างจากจิตอย่างไร เจตสิก เจตสิก ร่วมกับจิต

     เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในวันเพ็ญขึ้น๑๕ค่ำพระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิจักรแก้วก็บังเกิดขึ้นทำจากโลหะมีค่าส่องแสงสว่างไสวแล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆในทวีปทั้ง๔ประเทศต่างๆก็ยอมสวามิภักดิ์ไม่มีการสู้รบกันเมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงไม่รับแต่พระราชทานโอวาทศีล๕ให้พระเจ้าจักรพรรดิ จักรแก้ว จักรแก้ว จักรแก้ว พาหนะพระเจ้าจักรพรรดิ

     แบบการครองจีวรของพระสงฆ์เดิมในพระไตรปิฎกได้กล่าวไว้ชัดเจนมีในเสขิยวัตรว่าให้ทำความสำเหนียกว่าจักนุ่งจักห่มให้เป็นปริมณฑลคือเรียบร้อยพึงนุ่งปิดสะดือและปกหัวเข่าให้เรียบร้อยพึงทำชายทั้งสองให้เสมอกันห่มให้เรียบร้อยในการแสดงเคารพหรือทำวินัยกรรมให้ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าซึ่งก็คือห่มจีวรเฉวียงบ่าในการเข้าบ้านกล่าวว่าห่มสังฆาฎิทั้งหลายทำให้มีชั้นและกลัดดุมแต่กำชับไว้ให้ปิดกายด้วยดีห้ามไม่ให้เปิดไม่ให้เวิกผ้าขึ้นสันนิษฐานว่าคือการห่มคลุมทั้งสองบ่านั่นเองค่ะมหานิกาย การครองจีวร การครองจีวร การครองจีวร เป็นปริมณฑลคือเรียบร้อย

     โทสจริตหนักไปทางเจ้าอารมณ์มักโกรธเป็นคนขี้โมโหโทโสพูดเสียงดังเดินแรงทำงานหยาบแต่งตัวไม่พิถีพิถันเป็นคนใจเร็วชอบจับผิดจึงมองข้อตลกของคนได้ดีจึงมักเป็นคนที่พูดจาได้ตลกและสนุกสนานเนื่องจากเป็นคนตรงไปตรงมาปกป้องสังคมจากการเสื่อมได้ดี โทสจริต จริต โทสจริต ขี้โมโห

     โมหจริตหนักไปทางลุ่มหลงในทรัพย์สมบัตินิสัยเห็นแก่ตัวอยากได้ของของคนอื่นลุ่มหลงในลาภสักการะชื่อเสียงเกียรติยศมักงมงายในบทบาทที่สังคมสมมุติให้บ้าอำนาจถือความเห็นตัวเองเป็นใหญ่ยึดความเป็นสถาบันสูง โมหจริต จริต โมหจริต ลุ่มหลง

     ๑อนฺโตชนสฺมึพลกายสฺมึควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุขไม่ปล่อยปละละเลย๒ขตฺติเยสุควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น๓อนุยนฺเตสุควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์๔พฺราหฺมณคหปติเกสุควรเกื้อกูลพราหมณ์คหบดีและคฤหบดีชนคือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง๕เนคมชานปเทสุควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท๖สมณพฺราหฺมเณสุควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล๗มิคปกฺขีสุควรจักรักษาฝูงเนื้อนกและสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์๘อธมฺมการปฏิกฺเขโปควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรมและชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต๙อธนานํธนานุปฺปทานํควรเลี้ยงดูคนจนเพื่อมิให้ประกอบการทุจริตกุศลและอกุศลต่อสังคม๑๐สมณพฺราหฺมเณอุปสงฺกมิตฺวาปญฺหาปุจฺฉนํควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาปกุศลและอกุศลให้แจ้งชัด๑๑อธมฺมราคสฺสปหานํควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ๑๒วิสมโลภสฺสปหานํควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้จักรวรรดิวัตร_ จักรวรรดิวัตร๑๒ จักรวรรดิวัตร๑๒ จักรวรรดิวัตร มหาจักรพรรดิ

     ๑ราคจริตเหมาะกับอสุภะ๑๐นวสี๙กายคตานุสสติ๒โทสจริตวรรณกสิน๔พรหมวิหาร๔๓โมหจริตอานาปานสติ๔วิตกจริตอานาปานสติกสินทั้ง๖คือปฐวีกสินอาโปกสินเตโชกสินวาโยกสินอาโลกกสินอากาสกสิน๕สัทธาจริตอนุสสติ๖คือพุทธานุสสติธรรมานุสสติสังฆานุสสติจาคานุสสติศีลานุสสติเทวตานุสสติ๖พุทธิจริตพิจารณาอนิจจังทุกขังอนัตตาพิจารณาธาตุ๔อาหาเรปฏิกูลสัญญามรณานุสสติอุปสมานุสสติอานาปานสติเหมาะสมกับทุกจริตอารมณ์ที่กล่าวมา๖ประการนี้บางคนมีอารมณ์ทั้ง๖อย่างนี้ครบถ้วนบางรายก็มีไม่ครบมีมากน้อยกว่ากันตามอำนาจวาสนาบารมีที่อบรมมาในชาติอดีตอารมณ์ที่มีอยู่คล้ายคลึงกันแต่ความเข้มข้นรุนแรงไม่เสมอกันนั้นเพราะบารมีที่อบรมมาไม่เสมอกันจริต กรรมฐานที่เหมาะสมกับแต่ล่ะจริต จริต จริต อานาปานสติ

     ฉัททันปริตต์เป็นพระปริตต์ในลำดับตำนานที่สี่ในตำนานกล่าวถึงความคุ้มครองของช้างโพธิสัตว์ที่มอบให้แก่นายพรานและความคุ้มครองแก่วัตถุประสงค์แห่งการตรัสรู้ด้วยการกระทำสัจจะกถาพระตำนานที่สี่นั้นเป็นตำนานที่มีด้วยกันสองพระปริตต์คือขันธปริตต์๑และฉัททันปริตต์๑ซึ่งเป็นคาถาภาคหนึ่งในการสวดแบบสิบสองตำนานฉัททันตปริตรฉัททันตปริตรฉัททันตปริตรฉัททันตปริตรสัจจะกถา

     คำว่าชาตกหรือชาดกแปลว่าผู้เกิดมีรากคำมาจากธาตุว่าชนฺแปลว่าเกิดแปลงชนฺธาตุเป็นชาลงตปัจจัยในกิริยากิตก์ตปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่าแล้วมีรูปคำเป็นชาตแปลว่าเกิดแล้วเสร็จแล้วให้ลงกปัจจัยต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็นชาดกอ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่าชาตะกะแปลว่าผู้เกิดแล้วเมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทยเราออกเสียงเป็นชาดกโดยแปลงตเป็นดและให้กเป็นตัวสะกดในแม่กกในความหมายคือเล่าถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิดถือเอากำเนิดในชาติต่างๆได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้างแต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมาจนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายกล่าวอีกอย่างหนึ่งจะถือว่าเรื่องชาดกเป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ในอรรถกถาแสดงด้วยว่าผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้าแต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่องเพราะฉะนั้นสาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้นๆนัยยะหนึ่งชาดกจึงหมายถึงเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์พระองค์เสวยพระชาติต่างๆเป็นมนุษย์บ้างอมนุษย์บ้างเทวดาบ้างสัตว์บ้างเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ผู้ใดจะทรงยกชาดกซึ่งเป็นนิทานอิงธรรมมาเล่าเป็นบุคคลาธิษฐานคือเป็นวิธีการสอนแบบยกเอาเรื่องราวนิทานมาประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายแทนที่จะสอนธรรมะกันตรงๆดรสมิตธิพลเนตรนิมิตรให้รายละเอียดเกี่ยวกับชาดกไว้ว่าชาดกมีความหมายที่ใช้กันทั่วไป๒อย่าง๑หมายถึงเกิดเช่นปรับอาบัติทุกกฎภิกษุผู้แสวงหามีดและขวานเพื่อจะตัดต้นไม้และเถาวัลย์ที่เกิดณที่นั้นตตฺถชาตกกฎฺฐลตาเฉทนตฺถํวาสิผรสํหรือที่ขึ้นอยู่ที่นั้นได้แก่ที่เกิดบนหม้อดินที่ฝังไว้นานตตฺถชาตกนฺติจิรนิหิตายกุมฺภิยาอุปริชาตกํ๒หมายถึงการบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้ชาตํภูตํอตีตํภควโตจริยํ,ตํกียติกถียติเอเตนาติชาตกํชาดกเป็นพระพุทธพจน์ประเภทที่ไม่ใช่พระสูตรเป็นคำสอนที่มีอิทธิพลต่อวิธีสอนธรรมในยุคต่อมาเป็นการสอนอย่างเล่านิทานเหมาะกับผู้ฟังทุกระดับเป็นเทคนิคที่คงประสิทธิผลต่อผู้ฟังมาทุกยุคสมัยเพราะผู้สอนมีความรู้หลายด้านรู้วิธีนำเสนอมีวาทศิลป์เชื่อมโยงให้คนฟังมองเห็นภาพลักษณ์ชวนให้น่าติดตามชาดกความหมายของชาดกชาดกชาดกผู้เกิด

     ชมพูทวีปหมายถึงโลกมนุษย์ทั้งหมดไม่ใช่อินเดียเนปาลอย่างที่หลายๆคนเข้าใจดังมีหลักฐานในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ดังนี้ที่อยู่ของมนุษย์หรือมนุสสภูมินั้นอยู่บนพื้นดินหรือเรียกว่าดาวเคราะห์ลอยอยู่กลางอากาศในระดับเดียวกับไหล่เขาพระสุเมรุตั้งอยู่ในทิศทั้ง๔ของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาลหรือทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียกกาแล็กซี่ผืนแผ่นดินใหญ่หรือดาวเคราะห์ทั้ง๔ที่ลอยอยู่ในทิศทั้ง๔เรียกว่าทวีปมีชื่อและที่ตั้งดังนี้๑ปุพพวิเทหทวีปตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ๒อมรโคยานทวึปหรืออปรโคยานทวีปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ๓ชมพูทวีปก็โลกมนุษย์ที่เราอยู่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ๔อุตตรกุรุทวีปตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุชมพูทวีปตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุหรือก็เขาพระสุเมรุนั่นแหละค่ะมีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุแสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้าและมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียวมนุษย์ที่ชมพูทวีปมีความสูง๔ศอกอายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรมไม่แน่นอนสมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง๘๐,๐๐๐ปีแต่เมื่อคุณธรรมเสื่อมลงอาหารเลวลงอายุก็ลดลงและอย่างในสมัยพระพุทธเจ้าของเรามาตรัสรู้มนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุเฉลี่ย๑๐๐ปีต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีปจะมีอายุเพียง๑๐ปีเท่านั้นและตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกินดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือชมพูหรือไม้หว้าเพราะเหตุนี้ถึงเรียกว่าชมพูทวีปเพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือดอกชมพูเรื่องของชมพูทวีปเหตุที่เรียกชื่อดังนี้เพราะทวีปนี้มีไม้หว้าเป็นพญาไม้ประจำทวีปต้นชมพูแปลว่าต้นหว้าไม้หว้าต้นนี้อยู่ในป่าหิมพานต์ลำต้นวัดโดยรอบ๑๕โยชน์จากโคนถึงยอดสูงสุด๑๐๐โยชน์จากโคนถึงค่าคบสูง๕๐โยชน์ที่ค่าคบมีกิ่งทอดออกไปในทิศทั้ง๔แต่ละกิ่งยาว๕๐โยชน์วัดจากโคนต้นไปทางทิศไหนก็จะสูงเท่ากับความยาวในแต่ละทิศคือ๑๐๐โยชน์ใต้กิ่งหว้าทั้ง๔นั้นเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านไปในทิศทั้งหลายผลหว้ามีกลิ่นหอมรสหวานปานน้ำผึ้งหมู่นกทั้งหลายชวนกันมากินผลหว้าสุกนั้นบางทีผลสุกก็หล่นลงตามฝั่งแม่น้ำแล้วงอกออกเป็นเนื้อทองและถูกน้ำพัดออกไปจมลงในมหาสมุทรเรียกทองนั้นว่าทองชมพูนุทเพราะอาศัยเกิดมาจากชมพูนทีความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทวีปทั้ง๓ยกเว้นชมพูทวีปมีความเป็นอยู่ที่สุขสบายมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีมลภาวะทำให้อาหารการกินและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนเหมือนอย่างในชมพูทวีปที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ใน๓ทวีปมีศีลธรรมที่เป็นปกติสม่ำเสมอส่วนมนุษย์ในชมพูทวีปมีความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมากบางคนสุขสบายบางคนลำบากบางคนปานกลางทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของแต่ละคนชมพูทวีป

     ชาดกคือเรื่องราวหรือชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้าคือสมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้อยู่พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่างๆเรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่าชาดกชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทานบางครั้งจึงเรียกว่านิทานชาดกแต่มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เล่ากันทั่วไปคือชาดกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแต่นิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นชาดกที่ทรงเล่านั้นมีนับพันเรื่องหมายถึงพระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นับพันชาติโดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้างเป็นสัตว์บ้างแต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ๑๐ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดกและชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเกิดเป็นพระเวสสันดรจึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่าเวสสันดรชาดกชาดกชาดกชาดกชาดกชาติก่อนพระพุทธเจ้า

     ชิวหาวิญญาณความรู้อารมณ์ทางลิ้นคือรู้รสด้วยลิ้นหรือการรู้รสชิวหาวิญญาณชิวหาวิญญาณชิวหาวิญญาณรู้รส

     ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพญาช้างมีชื่อว่าอุโบสถสีขาวเผือกสง่างามมีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้คล่องแคล่วว่องไวฝึกหัดได้เองสามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีปจรดขอบมหาสมุทรได้ตั้งแต่เช้ารุ่งและกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้าพระเจ้าจักรพรรดิช้างแก้วช้างแก้วช้างแก้วพญาช้าง

     ญัตติเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคำเผดียงสงฆ์ที่ใช้เฉพาะในพระวินัยหมายถึงคำเสนอหรือข้อเสนอที่ใช้ในกรรมวาจาโดยพระคู่สวดประกาศให้สงฆ์ทราบในการประชุมกันทำสังฆกรรมอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่งถ้าสวดญัตติแล้วไม่มีการเสนอในลงมติเรียกว่าญัตตติกรรมแต่ถ้าเสนอให้ลงมติด้วยเรียกว่าญัตติทุติยกรรมบ้างญัตติจตุถตกรรมบางแล้วแต่กรณีค่ะญัตติในคำไทยใช้ในความหมายว่าข้อเสนอเพื่อลงมติหัวข้อโต้วาทีเช่นใช้ว่า"ผู้แทนเขาจะเสนอญัตติเรื่องนี้ในสภาผู้แทนราษฎร"หรือ"ในงานนี้มีการโต้วาทีในญัตติว่าปัญญาดีกว่าทรัพย์"ไรเงี้ยค่ะพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ญัตติ_(ศาสนาพุทธ)ญัตติญัตติญัตติคำเผดียงสงฆ์

     ญัตติแปลว่าการประกาศให้สงฆ์ทราบค่ะพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ญัตติ_(ศาสนาพุทธ)ญัตติญัตติญัตติการประกาศให้สงฆ์ทราบ

     ญาตัตถจริยาเป็นคำเรียกพระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงปฏิบัติประการหนึ่งใน๓ประการหมายถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติหน้าที่สงเคราะห์ญาติในฐานะที่เป็นญาติกล่าวคือทรงสงเคราะห์พระบิดาพระมารดาตลอดถึงพระประยูรญาติพระบรมวงศานุวงศ์ให้ได้เข้าถึงพระรัตนตรัยเข้าถึงธรรมจึงถึงให้ได้บวชในพระศาสนาและบรรลุมรรคผลนิพพานเป็นต้นว่าเสด็จไปโปรดพระบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์หลังจากตรัสรู้ได้ไม่นานเสด็จไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสด็จไปห้ามพระญาติสองฝ่ายมิได้รบพุ่งกันเพราะเหตุแย่งน้ำทำนาประทานอุปสมบทให้แก่พระนันนทะพระนางรูปนันทาซึ่งเป็นพระอนุชาและพระภคินีต่างพระมารดาทรงแนะนำสั่งสอนจนได้เป็นพระอรหันต์ทั้งสององค์ค่ะพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ญาตัตถจริยาญาตัตถจริยาญาตัตถจริยาญาตัตถจริยาพระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติในฐานะที่เป็นญาติ



๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | ก ถึง ฮ