ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ
ในพระวินัยปิฎกมหาวรรคภาค๒บันทึกว่าแต่เดิมนั้นพระภิกษุย้อมสีจีวรต่างกันไปพระโคตมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำย้อม๖อย่างคือน้ำย้อมเกิดแต่รากหรือเหง้า๑น้ำย้อมเกิดแต่ต้นไม้๑น้ำย้อมเกิดแต่เปลือกไม้๑น้ำย้อมเกิดแต่ใบไม้๑น้ำย้อมเกิดแต่ดอกไม้๑น้ำย้อมเกิดแต่ผลไม้๑"ส่วนสีที่ทรงห้ามมี๗สีคือสีเขียวครามเหมือนดอกผักตบชวาสีเหลืองเหมือนดอกกรรณิการ์สีแดงเหมือนชบาสีหงสบาทสีแดงกับเหลืองปนกันสีดำเหมือนลูกประคำดีควายสีแดงเข้มเหมือนหลังตะขาบและสีแดงกลายแดงผสมคล้ายใบไม้แก่ใกล้ร่วงเหมือนสีดอกบัวสีของจีวรไตรจีวรผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย
ในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานมีการตีความตถาคตครรภ์หรือพุทธธาตุแตกต่างกันในแต่ละสำนักโดยทั่วไปถือว่าตถาคตครรภ์เป็นภาวะบริสุทธิ์ดั้งเดิมที่มีอยู่ในจิตทั้งหลายภาวะนี้จึงเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์พีชะที่จะพัฒนาไปสู่การตรัสรู้ต่อไปคำว่าตถาคตครรภ์เป็นคำสมาสมาจากคำว่าตถาคตพระพุทธเจ้าบวกครรภ์สารัตถะตถาคตครรภ์จึงหมายถึงสารัตถะของพระพุทธเจ้าในขณะที่ในภาษาจีนหมายถึงธรรมชาติของพระพุทธเจ้าส่วนนิกายวัชรยานนิยามใช้คำว่าสุคตครรภ์ค่ะพระสูตรมหายานที่กล่าวถึงตถาคตครรภ์มีหลายพระสูตรได้แก่ตถาคตครรภสูตรศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตรมหายานมหาปรินิรวาณสูตรลังกาวตารสูตรอวตังสกสูตรมหายานศรัทโธตปาทศาสตร์เป็นต้นค่ะตถาคตครรภ์ตถาคตครรภ์
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชก็มีหลักฐานกล่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้ใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวรแต่ในช่วงต้นพุทธกาลพระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อกันไม่เป็นระเบียบหรือบางครั้งภิกษุบางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจากคหบดีก็มีการถูกลักขโมยบ่อยครั้งเนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากในสมัยพุทธกาลจนต่อมาพระพุทธเจ้าได้ทอดพระเนตรนาของชาวมคธจึงได้มีพระพุทธดำริให้ตัดผ้าจีวรเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆมาต่อกันจึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมองคือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีกเหมาะสมกับสมณะผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆที่เย็บต่อกันนั้นปรากฏลวดลายเป็นลายคันนาออกแบบโดยพระอานนท์ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎกว่า"อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยมพูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้างพูนคันนาคั่นในระหว่างๆด้วยคันนาสั้นๆพูนคันนาเชื่อมกันทาง๔แพร่งตามที่ซึ่งคันนากับคันนาผ่านตัดกันไปหรือไม่?เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลายให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?"พระอานนท์ตอบว่า"สามารถพระพุทธเจ้าข้า"ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ณทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์แล้วเสด็จกลับมาพระนครราชคฤห์อีกครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูปครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า"ขอพระผู้มีพระภาคจงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้วพระพุทธเจ้าข้า"ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมิกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้นแล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลายอานนท์เป็นคนฉลาดอานนท์ได้ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวางจีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้วเศร้าหมองด้วยศัสตราสมควรแก่สมณะและพวกศัตรูไม่ต้องการ"หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้วให้ทอดพระเนตรพระพุทธองค์ทรงพอพระทัยและอนุญาตให้ใช้ผ้า๓ผืนคือสังฆาฏิชั้นเดียวจีวรและสบงต่อมาทรงอนุญาตไตรจีวรคือผ้าสังฆาฏิสองชั้นจีวรและสบงทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ป้องกันความหนาวเย็นและรับสั่งว่าภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้รูปใดมีมากกว่านี้เป็นอาบัติอติเรกจีวรคือจีวรที่มีเกินกว่าผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวรตามพระวินัยภิกษุสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน๑๐วันและสามารถทำเป็นวิกัปอติเรกจีวรคือทำให้เป็นสองเจ้าของเพื่อจะได้ไม่ต้องอาบัติเพราะเก็บไว้เกินกำหนดความเป็นมาของเรื่องอติเรกจีวรนี้เนื่องจากมีผู้ถวายจีวรแก่พระอานนท์แล้วท่านประสงค์จะเก็บไว้ถวายพระสารีบุตรซึ่งขณะนั้นอยู่ต่างเมืองประมาณ๑๐วันจึงจะเดินทางมาถึงพระอานนท์ได้เข้าไปทูลถามพระพุทธองค์ว่าจะปฏิบัติอย่างไรกับอติเรกจีวรดีจึงทรงมีพุทธบัญญัติให้เก็บรักษาอติเรกจีวรไว้ได้ไม่เกิน๑๐วันไตรจีวรความเป็นมาของผ้าไตรจีวรไตรจีวรออกแบบโดยพระอานนท์
ไตรครองคือไตรจีวรหรือผ้าไตรของภิกษุที่พระอุปัชฌาย์มอบให้ในวันบวชถือว่าเป็นบริขารประจำตัวของภิกษุทุกรูปที่เรียกดังนี้เพราะมีธรรมเนียมตามพระวินัยว่าภิกษุทุกรูปจะมีผ้าประจำตัว๓ผืนที่เรียกว่าไตรจีวรและมีบทบัญญัติบังคับว่าภิกษุจะต้องรักษาผ้า๓ผืนนี้ไม่ให้ห่างกายตลอดเวลาโดยเฉพาะในช่วงกลางคืนยกเว้นเมื่อได้รับการผ่อนผันเป็นพิเศษเพราะได้อยู่จำพรรษาหรือได้รับกฐินแล้วดังนั้นในเวลาที่ยังมิได้รับการผ่อนผันจึงมีธรรมเนียมปฏิบัติให้ภิกษุต้องครองผ้าสามผืนนี้ในตอนเช้ามืดจนกว่าจะได้รับอรุณใหม่เพื่อมิให้ผ้าห่างกายของตนตามพระวินัยผ้าไตรที่ภิกษุใช้ครองซึ่งเป็นผ้าประจำตัวนี้จึงเรียกว่าไตรครองพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ไตรครองไตรครองไตรครองผ้าไตรพระอุปัชฌาย์มอบให้ในวันบวช
ไตรจีวรหรือผ้าไตรเป็นชื่อเรียกผ้านุ่งผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอยหมายถึงผ้า๓ผืนซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่มอันได้แก่สังฆาฏิผ้าพาดบ่าอุตราสงฆ์ผ้าจีวรสำหรับห่ม)และอันตรวาสกสบงสำหรับนุ่งแต่นิยมเรียกรวมกันว่าไตรจีวรโดยไตรจีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน๘อย่างนอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกไตรจีวรทั้งนิกายเถรวาทและมหายานคือคำว่ากาสาวะหรือกาษายะซึ่งหมายเอาตามชื่อสีที่ใช้ย้อมทำจีวรเป็นหลักโดยผ้ากาสาวะหมายถึงผ้าย้อมน้ำฝาดซึ่งก็คือผ้าไตรจีวรทั้งสามผืนนั่นเองไตรจีวรไตรจีวรไตรจีวรผ้าห่มที่พระสงฆ์ใช้สอย
ไตรทวารหมายถึงประตูทางเข้าแห่งกรรมหรือช่องทางที่จะทำกรรมได้๓ช่องทางคือทางกายทางวาจาทางใจซึ่งเรียกเต็มๆว่ากายทวารวจีทวารและมโนทวารอันเป็นทางผ่านเข้ามาแห่งกรรมทั้งที่เป็นกรรมดีและกรรมชั่วเช่นการให้ทานเป็นความดีผ่านเข้ามาทางกายการพูดจริงเป็นความดีผ่านเข้ามาทางวาจาการฆ่าสัตว์กรรมชั่วผ่านเข้ามาทางกายการพูดเท็จเป็นกรรมชั่วผ่านเข้ามาทางวาจาเป็นต้นพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ไตรทวารทำกรรมได้ทางไหนบ้าง
ไตรทวารแปลว่าประตู๓บานช่องทาง๓ช่องทางพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ไตรทวารไตรทวาร
ไตรภูมิหรือไตรโลกหมายถึงสามโลกซึ่งเป็นคติเกี่ยวกับโลกสัณฐานตามความเชื่อในพุทธศาสนาไตรภูมิประกอบด้วยกามภูมิรูปภูมิและอรูปภูมิมนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลายก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดในไตรภูมินี้จนกว่าจะสำเร็จมรรคผลไตรภูมิจักรวาลวิทยา
ไตรลักษณ์แปลว่าลักษณะ๓อย่างหมายถึงสามัญลักษณะหรือลักษณะที่เสมอกันหรือข้อกำหนดหรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ไตรลักษณ์
ไตรสรณคมน์เป็นการน้อมกายวาจาใจนำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้ในตนเพื่อแสดงว่าตนมีพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกยึกถึงและเป็นที่พึ่งตลอดไปและแสดงตนเป็นพุทธมามกะเป็นผู้ระบนับถือพระพุทธศาสนาโดยการเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งพิงที่ระลึกว่าพุทฺธังสรณังคัจฺฉามิธมฺมังสรณังคัจฺฉามิสงฺฆังสรณังคัจฺฉามิทุติยมฺปิตติยมฺปิพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘รัตนตรัยการขอถึงพระรัตนตรัย
ง่ายๆก็จิตตกหล่ะมั้งคะถีนมิทธะถีนมิทธะถีนมิทธะจิตตก
ถีนมิทธะหมายถึงอาการที่จิตเกิดความห่อเหี่ยวท้อแท้หมดหวังและเศร้าซึมง่วงเหงาหาวนอนเป็นเหตุให้เกิดความหมดอาลัยความเกียจคร้านไม่กระตือรือร้นปล่อยปละละเลยไปตามยถากรรมจัดเป็นนิวรณ์คือเครื่องปิดกั้นขัดขวางมิให้บรรลุถึงความดีและปิดกั้นความดีมิให้เข้าถึงจิตถีนมิทธะเกิดจากอรติคือความไม่ยินดีความเกียจคร้านและความเมาอาหารคืออิ่มเกินไปแก้ได้ด้วยอนุสติคือระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเป็นต้นถีนมิทธะเป็นหนึ่งในนิวรณ์๕อันเป็นสิ่งกั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมทำให้จิตเศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลังซึ่งมีห้าอย่างคือกามฉันทะพยาบาทถีนมิทธะอุทธัจจกุกกุจจะและวิจิกิจฉาถีนมิทธะถีนมิทธะถีนมิทธะจิตเกิดความห่อเหี่ยว
ถีนมิทธะอ่านว่าถีนะมิดทะแปลว่าความหดหู่และเคลิบเคลิ้มถีนะความหดหู่มิทธะความเคลิบเคลิ้มถีนมิทธะถีนมิทธะถีนมิทธะหดหู่เคลิบเคลิ้ม
ถูปะแปลว่ากระหม่อมยอดจอมหน้าจั่วใช้หมายถึงเนินโดมสถูปหรือเจดีย์ที่มียอดสูงซึ่งสร้างครอบหรือบรรจุของควรบูชาเช่นอัฐิของบุคคลที่ควรบูชากราบไหว้พระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ถูปารหบุคคลถูปารหบุคคลถูปารหบุคคลเจดีย์ยอดสูงบรรจุของควรบูชา
ถูปารหบุคคลที่สำคัญที่ท่านได้กำหนดไว้๔คือพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าพระอรหันต์พระเจ้าจักรพรรดิพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด,วัดราชโอรสารามกรุงเทพฯพศ๒๕๔๘ถูปารหบุคคลถูปารหบุคคล
นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกาประมาณร้อยละ๗๐ของประชากรทั้งหมดและประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ไทยกัมพูชาลาวและพม่านิกายเถรวาทได้รับการนับถือเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนามโดยเฉพาะในมณฑลยูนนานเนปาลบังกลาเทศที่เขตจิตตะกองเวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชามาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศมีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไทยและสิงหลตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ๑๐๐ล้านคนนิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาทคือนิกายมหายานในปัจจุบันเถรวาทเถรวาทเถรวาทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ร่างกายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้งดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้แม้ฉันใดถีนมิทธะก็มีอาหารเป็นที่ตั้งดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหารไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกันอาหารของถีนมิทธะในที่นี้หมายถึงปัจจัยอันนำมาซึ่งผลคือจิตเกิดความห่อเหี่ยวและเศร้าซึมง่วงเหงาสิ่งที่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้นหรือถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นได้แก่การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้หรือการกระทำในใจโดยไม่แยบคายอโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านี้คือ๑ความไม่ยินดีในที่อันสงัดหรือในธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล๒ความเกียจคร้านอ้างว่าร้อนนักหนาวนักหิวกระหายนักเป็นต้น๓ความบิดกายด้วยอำนาจกิเลสบิดร่างกายเอียงไปมารู้สึกไม่สบายด้วยอำนาจกิเลส๔ความเมาอาหารเช่นรับประทานมากไปอาหารย่อยยากหรือร่างกายอ้วนเนื่องจากรับประทานมาก๕ความที่ใจหดหู่ความไม่ควรแก่การงานของจิตเนื่องจากใจหดหู่ท้อแท้ถีนมิทธะอาหารของถีนมิทธะ
หลังจากพระโคตมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้๓เดือนพระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน๕๐๐รูปก็ประชุมทำปฐมสังคายนาณถ้ำสัตบรรณคูหาใกล้เมืองราชคฤห์แคว้นมคธใช้เวลาสอบทานอยู่๗เดือนจึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรกนับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีคำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมาเรียกว่าเถรวาทแปลว่าคำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระคำว่าเถระในที่นี้หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรกและพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าวเรียกว่านิกายเถรวาทอันหมายถึงคณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งถ้อยคำและเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัดตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลีเถรวาทความเป็นมาของนิกายเถรวาทเถรวาทคำสอนครั้งปฐมสังคายนา
เถยจิตหมายถึงความคิดจะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งโจรคือมีเจตนาลักฉ้อโกงตระบัดเป็นต้นเป็นภาษาพระวินัยเป็นเครื่องพิสูจน์หรือตัดสินภิกษุว่าล่วงละเมิดพระวินัยในข้อหาว่าลักทรัพย์หรือไม่โดยดูที่จิตหรือความคิดเช่นนี้คือพิจารณาว่ามีเถยจิตหรือไม่ถ้ามีเถยจิตก็ถือว่าผิดถ้าไม่มีเถยจิตก็ไม่ผิดพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘เถยจิตความหมายของเถยจิตเถยจิตเจตนาลัก
เถยจิตอ่านว่าเถยยะจิดแปลว่าจิตคิดจะขโมยความคิดที่จะลักโบราณเขียนว่าไถยจิตพระธรรมกิตติวงศ์(ทองดีสุรเตโช)ปธ๙ราชบัณฑิตพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัดกรุงเทพฯวัดราชโอรสาราม,พศ๒๕๔๘เถยจิตความหมายของเถยจิต
เถรวาทอ่านว่าเถระวาดโดยศัพท์แปลว่าตามแนวทางของพระเถระเป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่าหีนยานเถรวาทเถรวาทเถรวาทตามแนวทางของพระเถระ
การแก้นิสัยไม่ดีแต่ละอย่างไม่ใช่ทำได้ง่ายๆต้องพยายามแก้ส่วนจะแก้ได้มากหรือได้น้อยแค่ไหนก็ต้องพยายามแก้กันเรื่อยไปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งบำเพ็ญบารมีในพระชาติต้นๆความรู้ความประพฤติของพระองค์ก็ไม่สมบูรณ์เช่นคนทั้งหลายจึงต้องล้มลุกคลุกคลานไปบ้างบางชาติเกิดเป็นสัตว์บางชาติเกิดเป็นคนเป็นคนยากจนก็มีเป็นกษัตริย์ก็มีบางชาติเป็นนักปราชญ์แต่จะล้มลุกคลุกคลานอย่างไรพระองค์ก็พยายามฝึกตัวอยู่ตลอดเวลาสังเกตได้จากชาดกเรื่องต่างๆเราประกาศตัวเป็นชาวพุทธเท่ากับประกาศว่าเป็นลูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงมีหน้าที่ต้องฝึกตนตามพระองค์รู้ว่านิสัยอะไรไม่ดีก็รีบแก้เสียฝืนใจให้ได้ฝืนใจอยู่บ่อยๆทำซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ช้าก็คุ้นกับความดีศีลธรรมต้องนำหน้าความรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในที่ทำงานหลายแห่งคือคนส่วนใหญ่มักไม่ฝึกฝนปรับปรุงตัวเองโดยเฉพาะความประพฤติบางคนปรับปรุงเฉพาะความรู้ซึ่งความรู้ทางโลกเป็นความรู้ที่สามารถเรียนรู้ทันกันได้โดยใช้เวลาไม่นานและถ้าหากมีความรู้แล้วแต่ไม่รู้จักการฝึกฝนตนเองก็ยากที่จะเจริญก้าวหน้าได้ทางที่ถูกที่ควรคือเมื่อด้านวิชาการก้าวหน้าอยู่ตลอดตัวเราก็ต้องพยายามค้นคว้าเพิ่มเติมมากหรือน้อยก็ให้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆพร้อมกันนั้นก็รีบปรับปรุงคุณธรรมในตัวเราเสียแต่เนิ่นๆพอถึงเวลาแล้วเราต้องอาศัยคุณธรรมเป็นแนวทางในเรื่องการถนอมน้ำใจคนเรื่องการเข้าสังคมเรื่องการติดต่อกับผู้ใหญ่และอีกหลายสิ่งหลายอย่างแต่ถ้าขาดคุณธรรมย่อมเกิดปัญหาตามมามากมายเช่นการเล่นพรรคเล่นพวกปัดแข้งปัดขาก่อเวรต่างคนต่างมีจิตใจขุ่นมัวแล้วในที่สุดก็ไม่สามารถสร้างตัวได้ดังนั้นควรตั้งใจฝึกคุณธรรมดีที่สุดคุณธรรมที่ต้องฝึกก็คือความไม่ลำเอียงถ้าลำเอียงแล้ววินิจฉัยจะเสียตามบางคนลำเอียงแม้เรื่องเล็กๆเช่นสุนัขบ้านเราไปกัดแพ้สุนัขข้างบ้านแค่นั้นและชักเคืองแทนสุนัขขึ้นมาทีเดียวคือเอาหัวใจไปผูกกับสุนัขบางคนเรื่องเล็กไม่ลำเอียงแต่ลำเอียงเรื่องใหญ่พอลูกตัวเองไปเล่นกับลูกชาวบ้านเกิดทุบตีกันขึ้นไม่เลยว่าลูกตัวไปรังแกเขาก่อนหรือไปทำอะไรมาเข้าข้างลูกตัวเองทันทีจะไปเล่นงานลูกชาวบ้านอย่างนี้ก็มีเรื่องความลำเอียงนี้บางทีแก้กันชั่วชีวิตกว่าจะหายเพราะฉะนั้นต้องฝึกเป็นคนไม่ลำเอียงให้ได้การฝึกเช่นนี้เน้นการนั่งสมาธิมากๆให้ใจละเอียดอ่อนแล้วจะไม่ลำเอียงไม่มีอคติกับใครแล้วเราจะไม่มีปัญหากับใครและจะเจริญก้าวหน้าได้ในที่สุดทมะ
การฝึกเพื่อแก้นิสัย
นิสัย
นิสัย
ความลำเอียง
ความทุกข์จะดับไปได้เพราะดับชาติการเกิดอัตตาตัวตนคิดว่าตนเป็นอะไรอยู่ปฏิจจสมุปบาท
ความทุกข์
ทุกข์
ไม่เกิด
ความทุกข์
๒๓ ความรู้ก่อนหน้า |๒๓ ความรู้ต่อไป
ก | ข | ค | ง | จ | ฉ | ช | ซ | ฌ | ญ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ | ด | ต | ถ | ท | ธ | น | บ | ป | ผ | ฝ | พ | ฟ | ภ | ม | ย | ร | ล | ว | ศ | ษ | ส | ห | ฬ | อ | ฮ | ก ถึง ฮ